ການສຶກສາປັດໄຈທີ່ສົ່ງຜົນຕໍ່ການຕັດສິນໃຈເລືອກເຂົ້າສຶກສາຕໍ່ໃນລະດັບປະລິນຍາຕີ ມະຫາວິທະຍາໄລຂອນແກ່ນ ຂອງນັກສຶກສາຜ່ານລະບົບ TCAS (ສະບັບພາສາໄທ)
การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ของนักศึกษาผ่านระบบ
TCAS
(Thai University Central Admission System)
ปีการศึกษา 2562
นางสาวมัทนา บัวศรี
นายเปาซี วานอง
MR. PANYASACK SENGONKEO
รายงานการวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐประศาสนศาสตร์ขั้นก้าวหน้า
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
พ.ศ. 2562
กิตติกรรมประกาศ
การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่นของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS (Thai
University Central Admission System) ปีการศึกษา 2562 ฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยคำแนะนำ
และความช่วยเหลืออันเป็นประโยชน์จากหลาย ๆ ท่าน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ศรีสันติสุข อาจารย์ที่ปรึกษาและหัวหน้างานวิจัยฉบับนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นุชวนา เหลืองอังกูร รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรี จันทร์เพ็ง และอ.ดร.ประสงค์ ต่อโชติที่ได้ให้คำแนะนำ
คำปรึกษาชี้แจง ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา และแบบสอบถามเป็นอย่างดีมาโดยตลอด
ซึ่งคณะผู้วิจัยขอขอบพระคุณอาจารย์ทั้ง 4 ท่าน เป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
นอกจากนี้ขอขอบคุณนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
ที่ให้ความร่วมมืออย่างดีในการตอบแบบสอบถามการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่นของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS (Thai
University Central Admission System) ปีการศึกษา 2562
สุดท้ายขอบคุณความดีอันพึงจะมีและเกิดจากงานวิจัยฉบับนี้ขอมอบแด่บุพการี
คณาจารย์ และผู้ที่มีพระคุณทุกท่าน
มัทนา
บัวศรี
เปาซี วานอง
Panyasack
Sengonkeo
สารบัญ
|
หน้า |
|
กิตติกรรมประกาศ |
ก |
|
สารบัญ |
ข |
|
สารบัญตาราง |
ง |
|
สารบัญภาพ |
ฉ |
|
บทที่
1 บทนำ |
|
|
|
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญ |
2 |
|
1.2
วัตถุประสงค์ของการวิจัย |
3 |
|
1.3 คำถามวิจัย |
3 |
|
1.4
สมมติฐานการวิจัย |
3 |
|
1.5
ขอบเขตของการวิจัย |
3 |
|
1.6 นิยามศัพท์ |
4 |
|
1.7 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ |
4 |
บทที่
2 วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
|
|
|
2.1
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการตัดสินใจ |
5 |
|
2.2
ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจ |
8 |
|
2.3
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับค่านิยมของการศึกษาในสังคมไทย |
9 |
|
2.4
แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาต่อ |
10 |
|
2.5 ปัจจัยเกี่ยวกับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษา |
11 |
|
2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
13 |
|
2.7 กรอบแนวคิดของการวิจัย |
16 |
บทที่
3 วิธีดำเนินการวิจัย |
|
|
|
3.1
หน่วยในการวิเคราะห์ |
17 |
|
3.2
ประชากร กลุ่มตัวอย่าง และวิธีการสุ่มตัวอย่าง |
17 |
|
3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย |
18 |
|
3.4 การวัดแบบสอบถาม |
18 |
|
3.5 การทดสอบเครื่องมือในการวิจัย |
20 |
|
3.6 การเก็บรวบรวมข้อมูล |
20 |
|
3.7
การประมวลผลและการวิเคราะห์ข้อมูล |
20 |
|
3.8 ขอบเขตของการวิจัย |
21 |
บทที่
4 ผลการวิจัย |
|
|
|
4.1 การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมายของผลการวิเคราะห์ข้อมูล |
22 |
|
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม |
23 |
|
4.3
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS
ปีการศึกษา 2562 |
27 |
|
4.4
การวิเคราะห์คุณลักษณะปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา 2562 |
32 |
|
4.5
การทดสอบสมมติฐานการวิเคราะห์อำนาจพยากรณ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา 2562 |
35 |
|
4.6 การทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์แบบพหุคูณที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นผ่าน
ระบบ TCAS |
40 |
บทที่
5 สรุปผลการศึกษา อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ |
|
|
|
5.1
สรุปผลการศึกษา |
41 |
|
5.2 อภิปรายผลการศึกษา |
44 |
|
5.3 ข้อเสนอแนะจากการศึกษา |
49 |
|
5.4 ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งต่อไป |
50 |
บรรณานุกรม |
|
|
ภาคผนวก |
ช |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สารบัญตาราง
|
หน้า |
ตารางที่
3.1
จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา
|
18 |
ตารางที่
3.2 แบบแผนในการศึกษา |
21 |
ตารางที่
4.1 แสดงจำนวน ร้อยละ เพศของผู้ตอบแบบสอบถาม |
23 |
ตารางที่
4.2 แสดงจำนวน ร้อยละ
ช่วงรายได้ต่อเดือนของผู้ปกครอง |
23 |
ตารางที่
4.3
แสดงจำนวนและร้อยละคณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามศึกษาอยู่ |
24 |
ตารางที่
4.4 แสดงจำนวน ร้อยละ
ของภูมิลำเนาของผู้ตอบแบบสอบถาม |
24 |
ตารางที่
4.5 แสดงจำนวน ร้อยละ ช่วงเกรดเฉลี่ย (GPA) ของผู้ตอบแบบสอบถามในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 |
25 |
ตารางที่
4.6 แสดงจำนวน ร้อยละ
อาชีพผู้ปกครองของผู้ตอบแบบสอบถาม |
26 |
ตารางที่
4.7 แสดงจำนวน ร้อยละ
การเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยระบบ TCAS |
26 |
ตารางที่
4.8 แสดงค่าเฉลี่ย
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา 2562 ในภาพรวม |
27 |
ตารางที่
4.9 แสดงค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษา ต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา 2562 ในด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย |
27 |
ตารางที่
4.10 แสดงค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษา ต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา 2562 ในด้านหลักสูตร |
28 |
ตารางที่
4.11 แสดงค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา 2562 ในด้านการบริหารจัดการ |
29 |
ตารางที่
4.12 แสดงค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษา ต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา 2562 ในด้านอาจารย์ผู้สอน |
30 |
ตารางที่
4.13 แสดงค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา 2562 ในด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย |
30 |
ตารางที่
4.14 แสดงค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา 2562 ในด้านเหตุผลส่วนตัว |
31 |
ตารางที่
4.15
แสดงค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระเป็นรายด้านที่ใช้ในการศึกษาต่อ รอบ 1 คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) (Y
1) |
32 |
ตารางที่
4.16
แสดงค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระเป็นรายด้านที่ใช้ในการศึกษาต่อ รอบ 2 สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน สำหรับนักเรียนในพื้นที่ (Y 2) |
33 |
ตารางที่
4.17
แสดงค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระเป็นรายด้านที่ใช้ในการศึกษาต่อ รอบ 3 การรับตรงร่วมกัน (Y 3) |
33 |
ตารางที่
4.18
แสดงค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระเป็นรายด้านที่ใช้ในการศึกษาต่อ รอบ 4 การรับ Admission (Y 4) |
34 |
ตารางที่
4.19
แสดงค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระเป็นรายด้านที่ใช้ในการศึกษาต่อ รอบ 5 การรับตรงแบบอิสระ (Y 5) |
34 |
ตารางที่
4.20
แสดงค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อผ่าน ระบบ TCAS
รอบ 1คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) |
35 |
ตารางที่
4.21
แสดงค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อผ่าน ระบบ TCAS
รอบ 2 สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน
สำหรับนักเรียนในพื้นที่ |
36 |
ตารางที่
4.22
แสดงค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อผ่าน ระบบ TCAS
รอบ 3 การรับตรงร่วมกัน |
37 |
ตารางที่
4.23
แสดงค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อผ่าน ระบบ TCAS
รอบ 4 การรับ Admission |
38 |
ตารางที่
4.24
แสดงค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อผ่าน ระบบ TCAS
รอบ 5 การรับตรงแบบอิสระ |
39 |
ตารางที่
4.25
สรุปความสัมพันธ์แบบพหุคูณที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นผ่านระบบ
TCAS |
40 |
สารบัญภาพ
|
หน้า |
ภาพที่
2.1 กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย |
16 |
บทที่ 1
บทนำ
1.1
ความเป็นมาและความสำคัญ
การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ
โดยเฉพาะการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
เน้นการพัฒนาความสามารถที่ยั่งยืนของผู้เรียนในการหาความรู้ใหม่ตลอดชีวิต
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ
ถือเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ที่ให้ความสนใจในการศึกษาอย่างมาก
รวมถึงรัฐบาลได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนให้ความสนใจในเรื่องของการศึกษาที่เป็นพื้นฐานในความสำเร็จของชีวิต
สามารถนำเอาความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้ในอนาคต
มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ก่อตั้งขึ้นตามนโยบายการขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาสู่ส่วนภูมิภาคตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่
1 ของประเทศ
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนากำลังคนและองค์ความรู้เพื่อการแก้ปัญหาให้กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่
และมีประชากรเป็น 1 ใน 3 ของประเทศ
ในแต่ละปีต้องเผชิญกับปัญหาภัยแห้งแล้งและผลผลิตทางภาคการเกษตรไม่ดีอย่างต่อเนื่อง
อีกทั้งยังมีประชากรที่ยากจนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่
20 ธันวาคม พ.ศ. 2510 และได้พระราชทานพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า
“การตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่งนั้นเป็นคุณอย่างยิ่ง
เพราะทำให้การศึกษาชั้นสูงขยายออกไปถึงภูมิภาคที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของประเทศ
ซึ่งต่อไปจะเป็นผลดีแก่การพัฒนา
ยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคนี้เป็นอย่างยิ่ง
ความสำเร็จในการตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงเป็นความสำเร็จที่ทุกคนควรจะยินดี” (ประวัติความเป็นมามหาวิทยาลัยขอนแก่น,2563)
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปัจจุบันนี้ได้กำหนดเป้าหมายที่จะเป็น
"มหาวิทยาลัยวิจัยและพัฒนาชั้นนำระดับโลก" ซึ่งได้กำหนดนโยบายการร่วมรับผิดชอบในเป้าหมายผลผลิต
และผลลัพธ์ของมหาวิทยาลัยในทุกภาคส่วน มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีคณะวิชาจัดการศึกษา 26
คณะ (รวมบัณฑิตวิทยาลัย) มีหลักสูตรทั้งหมด จำนวน 334 หลักสูตร โดยจำแนกเป็น ระดับปริญญาตรี
95 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 134 หลักสูตร ระดับปริญญาเอก 87 หลักสูตร
ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต 1 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง 17 หลักสูตร
ซึ่งแต่ละคณะวิชาสามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน (แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับปรับปรุง, 2562)
ระบบการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
เป็นระบบการรับสมัครบุคคลที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
และคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษามีการพัฒนามาตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2504 ระบบเริ่มแรกเป็นระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง UCAS (ปี 2543 - 2548) ซึ่งมักเรียกกันว่า การสอบเอ็นทรานซ์ (Entrance
Examination) องค์การและหน่วยงานในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย
หรือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ปัจจุบัน) และสถาบันอุดมศึกษาของไทย
ก็ได้ร่วมมือกันปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่องเป็น ระบบกลาง (Admission) ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระบบ ตามกระบวนการรับสมัคร
และเกณฑ์การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา คือ ระบบกลาง (Admission) ระยะที่ 1 (ปี 2549 - 2552), ระบบกลาง (Admission) ระยะที่ 2 (ปี 2553 - 2560) และระบบกลาง (Admission) TCAS (ปี 2561 - ปัจจุบัน)
ซึ่งการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ผ่านมา
มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้พยายามปรับปรุงพัฒนาระบบการรับนักศึกษาให้มีความหลากหลายมากขึ้น
เช่น การรับนักศึกษาโดยวิธีโควตาประเภทต่าง ๆ การสอบรับตรง การรับโดยระบบกลาง (Admission) และ โครงการพิเศษอื่น ๆ เป็นต้น
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้จำนวนนักศึกษาใหม่ชั้นปีที่ 1 สอดคล้องกับแผนการรับนักศึกษาของคณะและหลักสูตรที่กำหนดไว้
ทั้งนี้ สำหรับปีการศึกษา 2561 ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
(ทปอ.) ได้เสนอแนวทางวิธีการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษารูปแบบใหม่ในสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่าย
ทปอ.เรียกว่า “Thai University Central Admission System”
หรือ TCAS โดยระบบดังกล่าวจะเริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561
ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 รอบ ได้แก่ รอบที่ 1
การรับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
โดยไม่มีการสอบข้อเขียน รอบที่ 2 การรับแบบโควตาที่มีการสอบข้อเขียน
หรือ ข้อสอบปฏิบัติ รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน รอบที่ 4
การรับแบบ Admission และ รอบที่ 5 การรับตรงอิสระ โดยอยู่ภายใต้หลักการสำคัญ จำนวน 3 ประการ
คือ 1) นักเรียนควรอยู่ในห้องเรียนจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
2) ผู้สมัครแต่ละคนมีเพียง 1 สิทธิ์ในการตอบรับในสาขาวิชาที่เลือกเพื่อความเสมอภาค
และ 3)
สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการจะเข้าระบบยืนยันสิทธิ์ (Clearing
House) คือ การยืนยันสิทธิ์หรือ สละสิทธิ์ในคณะและสาขาที่ต้องการตามวันเวลาที่กำหนดได้คนละ
1 สิทธิ์เท่านั้น
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากันสิทธิ์ที่เรียนคนอื่น ๆ จากผู้ที่ผ่านการคัดเลือกหลายที่
(สุริยา, 2561)
ในปัจจุบันนักเรียนที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาในระดับขั้นพื้นฐาน
มีทางเลือกในการตัดสินใจเข้ามาศึกษาต่อในสถาบันระดับอุดมศึกษา
ผ่านระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยระบบใหม่ โดย TCAS สถาบันอุดมศึกษามีอยู่จำนวนมาก ซึ่งมีการแข่งขันกันมากขึ้น
สถาบันแต่ละแห่งจำเป็นที่จะต้องสร้างแรงดึงดูดใจให้โรงเรียนและนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
6 นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
และนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาได้มีโอกาส และสร้างเลือกในการตัดสินใจเลือกสถานศึกษา
ผ่านการแนะแนวทางการศึกษา
ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นแม้ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงก็ต้องสร้างกลลุทธ์หรือหาวิธีการที่จะให้โรงเรียนและนักเรียนกลุ่มเป้าหมายตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย
คณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS (Thai
University Central Admission System)
ปีการศึกษา 2562 โดยข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จะเป็นแนวทาง
ในการพัฒนาและปรับปรุงการประชาสัมพันธ์การให้ข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัยฯ
และเป็นแนวทางในการแนะแนวเพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจและตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยขอนแก่นตามเป้าหมายการรับนักศึกษา
1.2
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยขอนแก่นของนักศึกษา
ผ่านระบบ TCAS (Thai University Central Admission
System) ปีการศึกษา 2562
1.3 คำถามวิจัย
3.1
ปัจจัยด้านใดบ้างมีต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยขอนแก่นของนักศึกษาผ่านระบบ
TCAS
1.4
สมมติฐานการวิจัย
ปัจจัยเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ทั้ง
6 ด้าน ได้แก่ ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น หลักสูตร การบริหารจัดการ
อาจารย์ผู้สอน สภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย และเหตุผลส่วนตัว
มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อผ่านระบบ TCAS (Thai
University Central Admission System) ปีการศึกษา 2562
1.5 ขอบเขตของการวิจัย
1.5.1 ขอบเขตของเนื้อหา
ศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่นผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา 2562 ประกอบด้วย
1) ปัจจัยส่วนบุคคล
2) ปัจจัยเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย
ประกอบด้วย 6 ด้าน
2.1)
ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
2.2) ด้านหลักสูตร
2.3)
ด้านการบริหารจัดการ
2.4)
ด้านอาจารย์ผู้สอน
2.5)
ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย
2.6)
ด้านเหตุผลส่วนตัว
1.5.2
ขอบเขตด้านเวลา การศึกษาในครั้งนี้จะใช้เวลาในการดำเนินการศึกษา ตั้งแต่เดือน
ธันวาคม พ.ศ.2562 ถึง เมษายน พ.ศ. 2563
1.5.3 ขอบเขตด้านประชากร
ประชากรที่ใช้การศึกษาในครั้งนี้ คือ
นักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้ามาศึกษาในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่นผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา 2562
1.6
นิยามศัพท์
1.6.1 การตัดสินใจ หมายถึง
การพิจารณาทางเลือก จากหลายทางเลือกให้เหลือเพียงทางเดียว
การเลือกวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ ในระบบ TCAS (Thai University Central Admission System)
ปีการศึกษา 2562
1.6.2 ปัจจัยส่วนบุคคล หมายถึง เพศ ภูมิลำเนา เกรดเฉลี่ยสะสมในระดับมัธยมศึกษาปีที่
6 ระบบการคัดเลือก อาชีพผู้ปกครอง รายได้รวมต่อเดือนของครอบครัว
และคณะที่ท่านศึกษา
1.6.3 ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
หมายถึง ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย มีคณะวิชาที่หลากหลาย ความโดดเด่น ด้านการเรียนการสอน
การวิจัย และได้รับการยอมรับจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
1.6.4 หลักสูตร หมายถึง
ระบบการเรียนการสอนที่มีมาตรฐานวิชาการที่มีคุณภาพ
เป็นที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน
เลือกเรียนได้อย่างกว้างขวางหลักสูตรมีความทันสมัย มีชื่อเสียง ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน
และเน้นทางด้านวิชาการ/วิชาชีพ
1.6.5 การบริหารจัดการ หมายถึง
มีทุนสนับสนุนการศึกษา ค่าเทอมมีราคาที่เหมาะสม จำนวนเทอมต่อปีการศึกษาเหมาะสม
และระบบรับเข้าหลากหลายช่องทาง
1.6.6 อาจารย์ผู้สอน หมายถึง
คณาจารย์มีความรู้เชี่ยวชาญหลากหลายด้าน มีชื่อเสียงหลากหลายด้าน
และมีตำแหน่งทางวิชาการจำนวนมาก
1.6.7 สภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย
หมายถึง มีอุปกรณ์การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย สภาพแวดล้อมร่มรื่น
และสวยงาม อาคารสถานที่มีความเหมาะสม มีบริการห้องสมุด มีโรงอาหารสำหรับนักศึกษา
ใกล้สถานพยาบาล และมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
1.6.8 เหตุผลส่วนตัว หมายถึง
มีหลักสูตรตรงตามความต้องการ เพื่อนเลือกเข้าศึกษาต่อ ครูที่ปรึกษาแนะนำ
รุ่นพี่แนะนำ และมีบุคคลที่ประทับใจ (Idol)
7.
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
7.1
ทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี
ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผ่านระบบ TCAS ประจำปีการศึกษา 2562
7.2
นำข้อมูลที่ได้รับมาใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
7.3
สามารถนำผลการวิจัยไปช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ในการหาแนวทางพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันกับมหาวทยาลัยอื่น
บทที่
2
วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ของนักศึกษา ผ่านระบบ TCAS
(Thai University Central Admission
System) ปีการศึกษา 2562 คณะผู้ศึกษาได้ศึกษาตำรา เอกสาร
และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งเนื้อหาต่าง ๆ ที่สำคัญดังนี้
2.1
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการตัดสินใจ
2.2 ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจ
2.3
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับค่านิยมของการศึกษาในสังคมไทย
2.4 แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาต่อ
2.5
ปัจจัยเกี่ยวกับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษา
2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.7 กรอบแนวคิดของการวิจัย
2.1 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการตัดสินใจ
1.
ความหมายของการตัดสินใจ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2556)
ได้กล่าวถึง การตัดสินใจ หมายถึง
การกระทำของบุคคลในการที่เลือกทางเลือกที่มีอยู่หลาย ๆ ทางเลือก
โดยการรวบรวมและประเมินข้อมูลและสิ่งประกอบอื่น ๆ ที่สำคัญ โดยการเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด
เพียงทางเลือกเดียวที่สามารถตอบสนองเป้าหมายหรือความต้องการของผู้เลือก
เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
โดยมีทั้งนักวิชาการชาวไทยและชาวต่างประเทศได้ให้คำนิยามหรือความหมายของคำว่า
“การตัดสินใจ” (decision) ไว้ต่างกัน ดังนี้
Barnard (1938) ได้ให้ความหมายของคำว่าการตัดสินใจ หมายถึง การพิจารณาทางเลือกจากหลายทางเลือกให้เหลือเพียงทางเดียว
Griffiths (1959: 104) ได้กล่าวว่า การตัดสินใจ หมายถึง
ทางเลือกในการปฏิบัติโดยการคิดทางเลือกที่แตกต่างกัน
Simon (1960: 1) ได้ให้ความหมายของคำว่า การตัดสินใจ หมายถึง
การหาโอกาสในการตัดสินใจเพื่อเลือกทางที่เป็นไปได้
Pfiffner และ
Presthus (1960) ได้กล่าวว่า การตัดสินใจ
หมายถึง การเลือกวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์
Oppenheim (1979: 55) ได้ให้ความหมายของคำว่า การตัดสินใจ คือ
การพิจารณาไตรตรองสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างรอบคอบก่อนลงมือกระทำ
ทิพย์วัลย์
สีจันทร์ และคณะ (2548, หน้า 99) กล่าวว่า การตัดสินใจ หมายถึง
การเลือกทางเลือกมาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาหรืออาจกล่าวได้ว่าการตัดสินใจจะเกิดขึ้นมาได้ต้องมีทางเลือกหลาย
ๆ ทางเกิดขึ้นก่อน
จากนั้นจึ่งนำทางเลือกเหล่านั้นมาพิจารณาเปรียบเทียบกันจนได้ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดแล้วจึงนำแนวทางที่เลือกนั้นมาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไป
สมคิด บางโม (2548: 175) ได้ให้ความหมายว่า การตัดสินใจ หมายถึง
การตัดสินใจเลือกทางปฏิบัติซึ่งมีหลายทางเปนแนวปฏิบัติไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ การตัดสินใจนี้อาจเป็นการตัดสินใจที่จะกระทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลายสิ่งเพื่อความสำเร็จตรงตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
ในทางปฏิบัติการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนและมีวิธีการแก้ปัญหามากกว่าหนึ่งทางเสมอ
ภูมิจิตร ศรีวงษ์ราช (2541, หน้า 9) ได้กล่าวไว้ว่า การตัดสินใจ คือ การพิจารณาไตร่ตรองจริงใจ
ตัดสินใจ
หรือตกลงใจของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในการเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งที่เล็งเห็นว่าดีที่สุดเหมาะที่สุด
หรือได้ประโยชน์มากที่สุด จากบรรดาทางเลือกต่าง ๆ ที่มีอยู่หลายทางเลือก
เพื่อที่จะใช้เป็นแนวทางปฏิบัติอันจะนาไปสู่เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้อย่างสัมฤทธิ์ผล
กล่าวโดยสรุปคณะผู้วิจัยจริงให้ความหมาย
การตัดสินใจ คือ การพิจารณาทางเลือก จากหลายทางเลือกให้เหลือเพียงทางเดียว
การเลือกวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ ในระบบ TCAS (Thai University Central Admission System)
ปีการศึกษา 2562
2. ความสำคัญของการตัดสินใจ
การตัดสินใจเป็นกระบวนการพิจารณาหาทางเลือกที่มีอยูจากหลายทางเลือก
โดยสามารถเลือกทางเลือกที่เป็นไปได้
ดังนั้นการตัดสินใจจึงเป็นหนาที่ที่บงบอกถึงแตกตางระหวางบุคคล
โดยผู้ที่ทำการตัดสินใจนั้นจะต้องมีหลักการและเหตุผล
มีเจตคติและวิจารญาณที่ดีเนื่องจากการตัดสินใจเป็นวิธีที่สามารถนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้
การตัดสินใจจึงมีความสำคัญ (วรพจน์ บุษราคัมวดี, 2551: 109)
ดังนี้
1) มีทางเลือกหลายทาง
การตัดสินใจเพื่อในกรณีที่ทางเลือกมีหลายทางเลือกอาจจะต้องอาศัยดุลพินิจสวนตัวของบุคคลเพื่อการตัดสินใจซึ่งการมีหลายทางเลือกนั้นอาจตัดสินใจผิดพลาดขึ้นได้
ดังนั้น จึงต้องอาศัยเครื่องมือหรือเกณฑ์ที่มีความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ
เข้ามาช่วยเพื่อทำการตัดสินใจ
2)
การมีข้อมูลเป็นจำนวนมากในการตัดสินใจ หากบุคคลนาดุลยพินิจส่วนตัวมาใช้ในการตัดสินใจบ่อยครั้งอาจเกิดโอกาสผิดพลาด
และขาดความรอบคอบได้เนื่องจากไม่สามารถนาข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดมาพิจารณาได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
3) เพื่อลดความขัดแย้ง
เนื่องจากพื้นฐานความรู้รวมทั้งประสบการณ์ของแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน ดังนั้นในการติดสินใจถ้าหากไม่อาศัยหลักเกณฑ์หรือเครื่องมือที่เหมือนกันมาทำการตัดสินใจแล้วอาจะทาให้การตัดสินใจแตกต่างกันออกไปจนทาให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้
4)
เพื่อลดความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอนในการตัดสินใจของบุคคลที่ปราศจากกฎเกณฑ์หรือเครื่อง
มือ ดังนั้นการตัดสินใจโดยใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง
และเหมาะสมจะช่วยโอกาสของการตัดสินใจ ที่ผิดพลาดลดลงได้
3. กระบวนการตัดสินใจ
กระบวนการตัดสินใจเป็นการกำหนดขั้นตอนของการตัดสินใจตั้งแต่ขั้นตอนแรกไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย
ซึ่งในการตัดสินใจโดยมีลำดับขั้นของกระบวนการดังกล่าวนั้นเป็นการตัดสินใจโดยใช้หลักเหตุผลและมีกฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือช่วยในการหาข้อสรุปเพื่อการตัดสินใจ
ดังนั้นขั้นตอนของกระบวน
การตัดสินใจจึงมีอยู่หลายรูปแบบโดยมีนักวิชาหลายท่านได้กล่าวไว้ ดังนี้
Oppenheim
(1979: 57) ได้กล่าวว่า ขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจนั้นสามารถแบ่งได้เป็น
6 ขั้นตอน คือ
1)
การตระหนักถึงปัญหาหรือสถานการณที่มีตัวเลือกเกิดขึ้น
2)
พิจารณาและไตร่ตรองทางเลือก
3)
เลือกทางเลือกที่ดีและมีปัญหาน้อยที่สุด
4)
ตัดสินใจบนพื้นฐานของทางเลือก
5)
ยอมรับกับผลที่ตามมาของการตัดสินใจ
6) ประเมินผลการตัดสินใจ
Plunkett and
Attner (1994: 162)
ได้กล่าวว่า กระบวนการตัดสินใจนั้นประกอบด้วยขั้นตอน 7 ขั้นตอน
ดังนี้
1) การระบุปัญหา (Define the problem)
เป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะ การระบุปัญหาได้ถูกต้องหรือไม่
ย่อมมีผลต่อการดาเนินการในขั้นต่อ ๆ ไป ของกระบวนการตัดสินใจ
ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการตัดสินใจด้วย
2) การระบุข้อจำกัดของปัจจัย (Identify limiting factors) เมื่อสามารถระบุปัญหาได้ถูกต้องแล้ว ควรพิจารณาถึงข้อจากัดต่าง ๆ
หรือเงื่อนไขที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
3) การพัฒนาทางเลือก (Development potential alternatives) ทางเลือกเหล่านั้นควรเป็นทางเลือกที่มีศักยภาพและมีความเป็นไปได้
4) การวิเคราะห์ทางเลือก (Analyze the alternatives)
นาเอาข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือกมาเปรียบเทียบกันอย่างรอบคอบ
5) การเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด (Select the best alternatives) พิจารณาทางเลือกที่ดีที่สุดเพียงทางเลือกเดียว
ทางเลือกที่ดีที่สุดควรมีผลเสียต่อเนื่องในภายหลังน้อยที่สุด และให้ผลประโยชน์มากที่สุด
6) การนำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติ (Implement the decision) นำผลการตัดสินใจนั้น ไปปฏิบัติ
เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
7) การสร้างระบบควบคุมและประเมินผล (Establish a control and
evaluation system) ช่วยให้ได้รับข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่
2.2
ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจ
มาสโลว์
ได้แบ่งแรงจูงใจตามลำดับความเข้มข้นแห่งความต้องการเป็น 5 ระดับ ดังนี้ (Maslow, 1970)
1. ความต้องการทางสรีระระดับพื้นฐาน
เป็นความต้องการ ขั้นพื้นฐานของร่างกายเพื่อความอยู่รอดของชีวิตอันได้แก่ อาหาร
เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษา โรค อากาศ เป็นต้น
2.
ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย เมื่อความต้องการทางร่างกายได้การบำบัดแล้ว
ความต้องการของคนก็ไม่ได้สิ้นสุดเพียงแค่นั้นสุขภาพที่ดีความปลอดภัยจากภยันตราย
ตลอดจนความมั่นคงในการประกอบอาชีพหรือหน้าที่การงาน ก็เป็นสิ่งที่มนุษย์ปรารถนา
ซึ่งคนเราย่อมมีความต้องการตรงกันในเรื่องนี้เสมอ
3.
ความต้องการเข้าสังคมและมีพวกพ้อง
เมื่อความต้องการสองขั้นที่กล่าวมาแล้วได้รับการตอบสนอง
บุคคลจะมีความต้องการทางสังคม คือ การมีเพื่อนฝูงและต้องการให้เป็นที่ยอมรับ
ต้องการความรักความปรารถนาดี ต้องการที่จะมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ
และเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม หรือสังคม
ซึ่งความต้องการดังกล่าวจะทำให้สมาชิกของกลุ่มหรือสังคมมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
อันจะช่วยให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
4.
ความต้องการมีศักดิ์ศรีและมีสถานภาพ ความต้องการขั้นนี้ คือ
ความต้องการที่จะให้คนอื่นยอมรับนับถือ มีความภาคภูมิใจในตนเอง มีศักดิ์ศรี
มีความภาคภูมิใจและมีสถานสภาพในสังคม มีความนับถือตัวเอง
บุคคลที่มีความต้องการหรือมีแรงจูงใจประเภทนี้มักจะพยายามทาสิ่งต่าง ๆ
ให้ประสบความสาเร็จ เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาคนอื่น
5.
ความต้องการมีสัจการแห่งตนหรือทำให้ชีวิตมีความหมาย
ความต้องการขั้นนี้เป็นความต้องการขั้นสูงสุด
ความต้องการขั้นนี้เป็นความต้องการที่บุคคลตระหนักถึงศักยภาพแห่งตน
จากการที่มีโอกาสพัฒนา ตนเองให้มีความก้าวหน้าอยู่เสมอและมีโอกาสที่จะสร้างสรรค์ความคิดความอ่านให้กว้างขวางออกไป
ซึ่งความต้องการในขั้นนี้ส่วนใหญ่เป็นความต้องการด้านอุดมคติ
ความต้องการ 5 ประการ ข้างต้นของมาสโลว์นี้
เรียงลำดับตามความสำคัญหรือความจำเป็นมากที่สุดไปยังน้อยที่สุด โดยมีความต้องการทางกายซึ่งเป็นความต้องการส่วนบุคคลของมนุษย์
ทุกคนเป็นพื้นฐานขั้นแรก ความต้องการ 5 ขั้นนี้จะเป็นอิสระต่อกันและมีความต่อเนื่องเหลื่อมล้ากันอยู่
กล่าวคือ
ความต้องการระดับถัดมาอาจเกิดขึ้นก่อนที่ความต้องการขั้นต้นจะได้รับการตอบสนองให้
เสร็จสิ้นสมบูรณ์ก็ได้ และบางคนอาจให้ความสำคัญกับความต้องการสลับขั้นก็ได้
อย่างไรก็ดีปกติ แล้วคนทั่วไปจะมีความต้องการขั้นต้นก่อน
เมื่อได้รับการสนองตอบแล้วจึงเกิดความต้องการขั้นถัดไป
และไม่จำเป็นว่าทุกคนจะมีความต้องการครบทั้ง 5 ขั้น
แต่ความต้องการทั้งหมดเหล่านี้จะมีอยู่ตลอดชีวิตของบุคคล
กล่าวโดยสรุปคือ แรงจูงใจ
เป็นแรงผลักดันหรือแรงกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายที่คนต้องการอย่างมีทิศทาง
ดั่งนั้น
แรงจูงใจที่มีบทบาทสำคัญกับการเลือกเข้าศึกษาต่อของนักเรียนมาจากแรงจูงใจทางสังคมเป็นสำคัญ
ทั้งนี้บุคคลย่อมต้องการฐานะทางสังคมที่ดีขึ้น
อย่างไรก็ตามฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมอันเป็นพื้นฐานเดิมของนักเรียนก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลือกเข้าศึกษาต่อของนักเรียนเช่นกัน
2.3
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับค่านิยมของการศึกษาในสังคมไทย
Good (อ้างถึงใน ประไพ
เอกอุ่น, 2542:10) ได้ให้ความหมายของการศึกษาใน
พจนานุกรมทางการศึกษาไว้ 4 ประการ คือ
1. กระบวนการเบ็ดเสร็จ
ที่บุคคลนำมาพัฒนาความสามารถด้านต่าง ๆ ทัศนคติต่าง ๆ และ พฤติกรรมต่าง ๆ
ที่มีคุณค่าอันเป็นที่พึ่งปรารถนาในสงคมที่บุคคลนั้นอาศัยอยู่
2. กระบวนการทางสังคม ซึ่งเลือกสรรและควบคุมสิ่งแวดล้อม
ให้บุคคลได้รับความสามารถและพัฒนาตนเองอย่างดีที่สุดตามที่สังคมปรารถนา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือกระบวนการที่โรงเรียนเป็นผู้จัด
3. วิชาต่าง ๆ ที่สถาบันอุดมศึกษาเปิดสอนเพื่อเตรียมผู้ประกอบวิชาชีพครู
ซึ่งส่วนมากเกี่ยวของโดยตรงกับจิตวิทยาการศึกษา ปรัชญาและประวัติการศึกษา หลักสูตร
วิธีการสอน วิชาเฉพาะและวิธีสอนทั่วไป หลักการศึกษา การบริหารการศึกษา
การนิเทศการศึกษาและวิชาอื่น ๆ
4.
ศิลปะการถ่ายทอดความรู้จากอดีตซี่งจัดไว้อย่างมีระเบียบให้แก่บุคคลแต่ละรุ่นจากแนวความคิด ต่าง ๆ ที่ได้รวบรวมไว้ทั้งหมด พอสรุปได้ว่า
ค่านิยม หมายถึง ความรู้สึก ซึ่งประกอบไปด้วยความนิยมชมชอบ พอใจ ยกย่อง บูชา
ต้องการ และการตีค่าสิ่งต่าง ๆ โดยพิจารณา
คุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งนั้นในชังจิตวิทยา ศาสนา จริยศาสตร์
และสุนทรียศาสตร์ เมื่อบุคคลพิจารณาตัดสินแล้วบุคคลจะยึดถือตามคุณลักษณะนั้นต่อไป
เช่น เมื่อบุคคลมีค่านิยมสูงในสิ่งใดก็จะแสดงออกในการยอมรับ
ยึดถือสิ่งนั้นอยู่ในอันดับสูง แต่ถ้าบุคคลใดมีค่านิยมต่ำ
ในสิ่งใดจะแสดงออกในการยอมรับนับถือในสิ่งนั้นในอันดับต่ำ ค่านิยมจึ่งมีความสำคัญ
อยางยิ่งต่อการกำหนดแบบฉบับบุคลิกภาพหรือลักษณะของการประพฤติปฏิบัติของบคคลในสังคม
และจะสงผลต่อคุณภาพของสังคมที่บุคคลเป็นสมาชิกอยู่
สมบูรณ์ ตนยะ, (2545: 25) กล่าวว่า ค่านิยม ทางการศึกษาของไทยในอดีต หมายถึง
ค่านิยมทางการศึกษาของไทยในสมัย โบราณ
ตั้งงแต่ก่อนมีการปฏิรูปการศึกษาในสมยรัชกาลที่ 5 จนถึง พ.ศ. 2525
ซึ่งวิเคราะห์มาจากเอกสารวรรณกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
สมบูรณ์ ตนยะ, (2545: 25) ยังได้กล่าวอีกว่า ค่านิยมทางการศึกษาของไทยในปัจจุบัน หมายถึง
ค่านิยมทางการศึกษาของไทยที่กำลังเป็นอยู่ในขณะที่ทำการศึกษา
ซึ่งวัดโดยใช้แบบสอบถามวัดค่านิยมทางการศึกษาที่ผู้วิจัยเป็นผู้สร้างขึ้น
ค่านิยมทางการศึกษาของไทยในอดีตแบ่งออกเป็น
4 ระยะ ดังนี้
1. สมัยก่อนการปฏิรูปการศึกษาในรัชการที่ 5
พบว่า การศึกษาเป็นการเรียนวิชาชีพมากกว่าการเรียนหนังสือ
การศึกษาเป็นการปลูกฝังคุณธรรม และจริยธรรมต่าง ๆ การศึกษาของหญิงและชายต่างกันและยัง
เป็นสถานศึกษาของลูกผู้ดูมีตระกูล
2.
สมัยปฏิรูปการศึกษาในรัชกาลที่ 5 พบว่า
การศึกษาคือการเรียนหนังสือเพื่อเข้ารับราชการ
การเรียนหนังสือเป็นหน้าที่ของผู้มุ่งเข้ารับราช การศึกษาของหญิงและชายต่างกัน
การวัดผลเป็นการ “ไล่หนังสือ” เพื่อรับ “หนังสือรับรอง”
สถานศึกษาของเจ้านายและชาวบ้านต่างกัน ผู้จัดการศึกษาคำนึงถึงการศึกษาด้าน คุณธรรม
จริยธรรมและการอาชีพและการนิยมยกย่องชาวต่างชาติ
3. สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พ.ศ. 2475 พบว่า
การศึกษาของชายและหญิงไม่แตกต่างกันประชาชนไม่นิยมเรียนวิชาชีพและการศึกษามุ่งให้อ่านหนังสือออกมากกว่าการอบรมด้านจริยธรรม
และคุณธรรม
4. สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
จนถึง พ.ศ.2525 พบว่า เห็นความสำคัญของการเรียนหนังสือมาก
การศึกษาของหญิงและชายไม่แตกต่างกัน นิยมเรียนสายสามัญมากกว่าสายอาชีพ
การยกยองปริญญาบัตรหรือวุฒิบัตร นิยมยกยองผูที่เรียนจบจากต่างประเทศ
การศึกษาาคือบันไดดาราและนิยมสถานศึกษาที่มีชื่อเสียง Raths,
Harmin, and Simon (อ้างถึงใน สมบูรณ์ ตนยะ, 2545:
11) ได้อธิบายการเกิดค่านิยมไว้มี 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. การเลือก (choosing) ประกอบด้วยการเลือกทำอย่างอิสระ ไม่ถูกบังคับเลือกจาก ทางเลือกหลาย ๆ
ทาง และเลือกจากผลการพิจารณาทางเลือกทุกทาง
2. การให้คุณค่า (prizing) ประกอบด้วยการให้คุณค่าในผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากทางเลือกหลาย ๆ ทาง
และยืนยันการตัดสินใจเลือกตามที่ตนคิดอย่างเปิดเผย
3. การปฏิบัติ (acting) ประกอบด้วย การกระทำตามที่ตนเองตัดสินใจเลือกและการปฏิบัติซ้ำจนเกิดเป็นลักษณะนิสัย
กล่าวโดยสรุป ค่านิยม คือ
ความต้องการของมนุษย์ที่แสดงออกมา
ผ่านพฤติกรรมโดยมีอิทธิผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมของบุคคล
และจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย สภาพแวดล้อมและบุคคลในสังคม
2.4
แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาต่อ
ปัจจุบันสังคมให้คุณค่าแก่ความรู้ไว้สูง
โดยบุคคลที่ได้รับการศึกษาสูงกว่าคนทั่วไปมักถูกมองว่ากลุ่มคนเหล่านี้เป็นชนชั้นปัญญาชนเป็นมันสมองของสังคมในการนาทิศทางเรื่องต่าง
ๆ การจะพัฒนาศักยภาพของบุคคล จึงอาจวัดกันได้ที่ความเป็นผู้ได้รับการอบรมวิชาการความรู้
และประสบการณ์โดยการศึกษาในระดับสูงยิ่ง ๆ ขึ้น
และต้องนำวิชาการความรู้ที่ได้เล่าเรียนมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตน
สังคม และประเทศชาติอีกด้วย
มีนักวิชาการได้กล่าวถึงแนวคิดทางด้านการศึกษาต่อไว้ดังนี้
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2545, หน้า 15) ได้สรุปประเด็นของค่านิยมความคิด ทางการศึกษาต่อไว้ดังนี้
1.
เรียนเพื่อลดการแข่งขันในการประกอบอาชีพ
2.
เรียนเพื่อต้องการเลื่อนตำแหน่ง
3. เรียนเพื่อสร้างสายสัมพันธ์
4.
เรียนเพื่อสร้างความมีหน้ามีตาในสังคม
5.
เรียนเพราะนิยมมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ
6. เรียนเพราะเห็นว่าจบกันง่าย
7. เรียนเพราะพ่อแม่คาดหวัง
8. เรียนเพราะเป็นแฟชั่น
9.
เรียนเพื่อหลีกเลี่ยงการทำงาน
10.
เรียนเพราะต้องการเปลี่ยนสาขาวิชา
กล่าวโดยสรุปได้ว่า
การศึกษาต่อเป็นการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น เพื่อมุ่งศึกษาในแต่ละสาขาวิชา
อย่างลึกซึ้งเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองให้มีความสามารถในการนาไปปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน
นอกจากนี้ผู้ที่จบการศึกษาในระดับสูงยังเป็นที่ยอมรับของสังคมแล้ว
ยังส่งผลต่อความก้าวหน้า ในหน้าที่การงานอีกด้วย
2.5
ปัจจัยเกี่ยวกับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษา
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษานั้นมีอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน
คือ
1.
ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ของสถาบัน
ภาพลักษณ์เมื่อแปลตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542
จะหมายถึง ภาพที่เกิดจากความนึกคิด หรือที่คิดว่า ควรจะเป็นเช่นนั้น
ดังนั้นภาพลักษณ์ของสถาบันจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความรู้สึกสึกนึกคิดของบุคคลที่มีต่อสถาบันการศึกษา
มีความรู้สึกประทับใจต่อหน่วยงาน เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ ขององค์การ
เพราะถ้าหากองค์การได้รับความสนใจจากสาธารณชนในด้านบวกที่มากขึ้นก็จะได้รับความเชื่อมั่นและความไว้วางใจ
และเป็นส่วนสนับสนุนให้องค์การประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน
แต่ในทางกลับกันหากองค์การใดมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีก็ย่อมส่งผลให้ได้รับการต่อต้านและการดูหมิ่นเหยียดหยามและมีเจตคติทางด้านลบต่อองค์การนั้น
ๆ ดังนั้นภาพลักษณ์ จึงเป็นรากฐานหนึ่งของความมั่นคงและความสำเร็จขององค์การ โดย
อมราพร ปวะบุตร,
ปพฤกษ์ อุตสาหะวาณิชกิจ และ จิระทัศน์ ชิดทรงสวัสดิ์, (2550, หน้า 104) ได้กล่าวว่า
สิ่งที่มีบทบาทต่อการเกิดภาพลักษณ์ขององค์การ คือ ความน่าเชื่อถือ หมายถึง
การกระทำต่อประชนโดยมุ่งเน้นในการให้บริการที่ดีที่สุด การยอมรับ หมายถึง
องค์การเป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรมเพื่อชุมชน ความประทับใจ
หมายถึงภาพรวมขององค์การที่ได้รับรู้จากประสบการณ์ส่วนตัวและความรู้สึก ความศรัทธา
หมายถึงความสามารถในการเปลี่ยนความรู้สึกให้กลายเป็นบวก
ด้วยการให้เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังอย่างน่าเชื่อถือ ชื่อเสียง หมายถึง
ความดีงามขององค์การหรือบุคคลที่สาธารณชนรับรู้ การมีบุคลากรที่มีคุณภาพ หมายถึง
ความรู้ความสามารถที่เหมาะสมของบุคลากร และ ความยุติธรรม หมายถึงหลักปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลดีที่สุดทั้งสังคมและองค์การ
2.
ปัจจัยด้านหลักสูตร หลักสูตรเป็นเสมือนหัวใจสำคัญในการเรียนการสอน
เพราะหลักสูตรเป็นดั่งแนวทางหรือกรอบในการที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจและทักษะ
หากหลักสูตรมีความเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและสอดคล้องกับความต้องการของสังคม
ย่อมส่งผลให้ผู้เรียนมีความต้องการที่จะเข้ามาศึกษาในหลักสูตรนั้น ๆ โดย ธำรง
บัวศรี (2542,
หน้า 10-11) ได้กล่าวให้เห็นถึงความสำคัญของหลักสูตรไว้ คือ 1)
ความสำคัญของหลักสูตรต่อการศึกษาส่วนรวม การศึกษาเป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมนุษย์
โดยเฉพาะเป็นกระบวนการพัฒนาบุคคลและยังเป็นเครื่องมือภาครัฐในการสร้างกาลังคน
เพื่อก่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการศึกษา
เพราะว่าหลักสูตรเป็นเครื่องมือถ่ายทอดเจตนารมณ์หรือเป้าประสงค์ของการศึกษาชาติไปสู่การปฏิบัติ
2) ความสำคัญของหลักสูตรต่อการเรียนการสอน เนื่องจากหลักสูตรเปรียบเสมือน
เป็นแม่บทสำคัญของการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกสาขาวิชา
หลักสูตรจะระบุถึงสิ่งที่ต้องการและแนวทางในการจัดการกับประสบการณ์ต่าง ๆ
เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนด
3. ปัจจัยด้านอาจารย์ผู้สอน
คุณลักษณะที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศนั้นจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ สอนดี
มีคุณธรรม และ นำชุมชนไปสู่การพัฒนา
นอกจากนั้นควรมีบทบาทในการอานวยความสะดวกในการเรียนรู้
โดยต้องมีการเปลี่ยนแปลงบทบาทในการเรียนการสอนให้มีวิธีการสอนที่หลากหลาย (ทองคูณ
หงส์พันธุ์,
2542 หน้า 8)
4.
ปัจจัยด้านสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน การที่มีสื่อและอุปกรณ์ที่ทันสมัยนั้น
จะเป็นส่วนสนับสนุนให้กระบวนการในการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็วขึ้น ซึ่งสื่อการเรียนการสอน (ยุทธ ไกยวรรณ์.2545, หน้า 99) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เป็นทุกสิ่งทุกอย่าง
ที่จะพาความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียน
เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
5.
ปัจจัยด้านสวัสดิการและการบริการ การจัดสวัสดิการและสิ่งบริการให้แก่ผู้เรียนนั้น
ก็เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายในการเรียน
และเป็นแรงจูงใจที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข
และเกิดการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน สวัสดิการและการบริการของสถาบันทางการศึกษา เช่น
ห้องสมุด ศูนย์ภาษา ศูนย์คอมพิวเตอร์ ศูนย์กีฬา ศูนย์อาหาร หอพักนักศึกษา
ทุนการศึกษา ระบบอินเตอร์เน็ตไร้สาย ที่ทาการไปรษณีย์ บริการยานพาหนะ เป็นต้น
6. ปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์
การประชาสัมพันธ์ หมายถึงการจัดการด้านความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับกลุ่มเป้าหมาย
ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนได้เสียจากการดำเนินงานขององค์การ โดยมุ่งหวังให้ทั้ง 2 ฝ่าย
ต่างมีความรู้ความเข้าใจซึ่งกันและกัน
และเกิดความสัมพันธ์ระหว่างกันในระยะยาวและยังมีผลกระทบต่อความสำเร็จขององค์กร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทัศนคติ ความเชื่อถือ ภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร (กัญญา
ศิริสกุล และคณะ,
2552, หน้า 5)
การประชาสัมพันธ์จึงเป็นวิธีการที่สำคัญวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ข้อมูลแก่ผู้ที่จะกาลังตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ
เพราะหากสถาบันมีวิธีการประชาสัมพันธ์ที่ดี
ก็ย่อมส่งผลให้การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของผู้ที่สนใจนั้นทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
7)
ปัจจัยด้านค่านิยมของนักศึกษาและผู้ปกครอง ค่านิยม คือ ความเชื่อ ความปรารถนา
ที่บุคคลและสังคมคาดหวังหรือต้องการจะเป็นและประพฤติปฏิบัติ ค่านิยมจึงมีความสำคัญ
ในการตัดสินใจของบุคคล
เพราะค่านิยมจะเป็นเครื่องมือในการช่วยกำหนดทิศทางการตัดสินใจเลือกที่จะกระทาหรือเลือกที่จะไม่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ค่านิยมจึงเป็นบรรทัดฐานในการประพฤติปฏิบัติ ของบุคคลในการดำเนินชีวิต
ค่านิยมจะได้รับมาจากการเลี้ยงดูปลูกฝัง ตลอดจนสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในสังคม
อันจะมีส่วนทำให้บุคคลมีพฤติกรรมไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
กล่าวโดยสรุป
ปัจจัยเกี่ยวกับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษานั้นมีหลากหลาย คือ
ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ของสถาบัน เช่น ความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจ การยอมรับ
การดำเนินกิจกรรมเพื่อชุมชน ความประทับใจ ความศรัทธา ชื่อเสียง
การมีบุคลากรที่มีคุณภาพ ด้านหลักสูตร คือ
มีความสอดคล้องต่อผู้เรียนและสอดคล้องกับความต้องการของสังคม ด้านอาจารย์ผู้สอน
คือ สอนดี มีคุณธรรม นำชุมชนไปสู่การพัฒนาด้านสื่อการเรียนการสอน คือ
มีอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ทันสมัย เกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็วขึ้น
ด้านการประชาสัมพันธ์ คือ
มีการจัดการด้านประชาสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้รู้ถึงความเข้าใจซึ่งกันและกัน
และด้านของค่านิยมของนักศึกษาและผู้ปกครอง คือ การเลี้ยงดูปลูกฝัง
ตลอดจนสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในสังคม อันมีส่วน
ในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อได้เช่นเดียวกัน
สำหรับการศึกษาในครั้งนี้
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ได้แก่ ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ด้านหลักสูตร ด้านการบริหารจัดการ ด้านอาจารย์ผู้สอน
ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย และด้านเหตุผลส่วนตัว
2.6
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ธนกฤต ยืนยงเดชา (2554) ได้ศึกษาเรื่อง
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นอันดับหนึ่งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษา พบว่า
ปัจจัยทางด้านการผลิตบัณฑิตจำนวนมากที่ความสำคัญ
ในระดับมากต่อการเลือกศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา รองลงมาคือ
จบจากสถาบันนี้แล้วจะมีโอกาสในการประกอบอาชีพสูงกว่าสถาบันอื่น สำหรับปัจจัยทางด้านราคาถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญกับการเลือกศึกษา
ในระดับมากที่สุด ปัจจัยทางด้านสถานที่คือ
ปัจจัยเรื่องมหาวิทยาลัยใกล้ภูมิลำเนาเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุดในทุก ๆ
ด้าน รองลงมาคือ มหาวิทยาลัยมีสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยแก่การเรียน ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดที่มีอิทธิพลมากที่สุด
คือ มีคณะให้เลือกศึกษาจำนวนมาก รองลงมาคือ
มีโควต้าและโครงการจำนวนมากสำหรับนักเรียนในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ต่อมาคือ มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย
ส่วนปัจจัยด้านส่วนบุคคลมีความสำคัญในระดับ คือ ประสิทธิภาพของบุคลากรในมหาวิทยาลัย
รองลงมาคือ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยมีความหน้าเชื่อถือ ปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการ
ปัจจัยทีมีอิทธิพลมากที่สุด คือ การมีบริการทางการศึกษาที่รวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ
และปัจจัยทางด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ คือ การที่มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงในระดับประเทศรองลงมา
คือ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการประชาสัมพันธ์ได้ทั่วถึง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยด้านอื่น
ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นอันดับหนึ่งอีก คือ เพื่อน
การเลือกศึกษาต่อตามเพื่อนมีอิทธิพลกับกลุ่มตัวอย่างสูงมาก รองลงมาคือ รุ่นพี่
และการมีมหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยในฝัน เป็นมหาวิทยาลัย ที่เหมาะสมกับตัวเอง
เลือกตามความต้องการของผู้ปกครอง และเลือกตามคาโฆษณา ประชาสัมพันธ์หรือประกาศ
ตามลำดับ
เมธาวี สุขปาน (2556) ได้ศึกษาเรื่อง
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
(ปวส.) ของนักเรียน กรณีศึกษาวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี
รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์ความสำคัญของปัจจัยที่มีผลการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
(ปวส.) โดยตัวอย่างเก็บจากนักเรียนที่ศึกษาในปีสุดท้ายของระดับการศึกษาระดับวิชาชีพ
(ปวช.) ของวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี จานวน 400 คน วิธีการวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ
(Survey
Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมเก็บข้อมูล
สามารถเก็บข้อมูลที่มีคุณภาพจากนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3
วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี แบบสอบถามที่ใช้วิเคราะห์จำนวน 400 ชุด โดยใช้ค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งการทดสอบสมมติฐานด้วยแบบจำลองโลจิท
ผลการศึกษาพบว่า
คะแนนของความสำคัญทางด้านความพึงพอใจกับต้นทุนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับโอกาสในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
(ปวส.) ที่วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี
เมื่อพิจารณาระดับความสำคัญของปัจจัยทั้งสองด้านพบว่า
นักเรียนให้ความสำคัญกับปัจจัยทางด้านความพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่
ชื่อเสียงของสถานศึกษาที่เป็นที่รู้จักมาอย่างยาวนานและเป็นของรัฐบาล
รองลงมาได้แก่ ความชอบและความถนัดส่วนตัว รวมทั้งการชักชวนจากเพื่อนตาม ลำดับ
ธนวรรณ รักอู่ (2557) ได้ศึกษาเรื่อง
การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีของนักศึกษาภาคปกติ
ปีการศึกษา 2556 โดยวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ประชากรที่ใช้ คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1
ภาคปกติ เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2556 จำนวน 1,171 คน
กลุ่มตัวอย่างจานวน 300 คน โดยสูตรของทาโร ยามาเน่
และสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ
แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ
ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมีค่าระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79
ด้านสถานที่ตั้งมีค่าระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.77
ด้านการประชาสัมพันธ์มีค่าระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91
ด้านบุคลากรมีค่าระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92
ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน มีค่าระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่
และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ทุกด้านอยู่ในระดับมากเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ ด้านบุคลากร
รองลงมาคือ ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย และด้านสถานที่ตั้ง
สำหรับด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการประชาสัมพันธ์
ส่วนผลการเปรียบเทียบการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยคณะครุศาสตร์
มีความคิดเห็นต่างกับคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ด้านการประชาสัมพันธ์คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมีความคิดเห็นต่างกับคณะครุศาสตร์และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ด้านบุคลากรคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มีความคิดเห็นต่างกับคณะครุศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมีความคิดเห็นต่างกับคณะครุศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
0.05 ส่วนเพศ อายุ อาชีพของผู้ปกครอง รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว
ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง ภูมิลาเนาเดิมของครอบครัวพบว่าไม่แตกต่างกัน
2.7 กรอบแนวคิดของการวิจัย
การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยขอนแก่นในปีการศึกษา
2562 คณะผู้ศึกษาได้ใช้กรอบแนวคิดดังนี้
2.7.1 ตัวแปรอิสระ คือ ปัจจัยส่วนบุคคล
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่
ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้านหลักสูตร ด้านการบริหารจัดการ
ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย และด้านเหตุผลส่วนตัว
2.7.2 ตัวแปรตาม คือ
การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผ่านระบบ TCAS
(Thai University Central Admission
System) ได้แก่ รอบ 1
คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) รอบ 2 สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน สำหรับนักเรียนในพื้นที่ รอบ 3 การรับตรงร่วมกัน รอบ 4 การรับ Admission และรอบ 5 การรับตรงแบบอิสระ
โดยเขียนเป็นกรอบแนวคิดการศึกษา ดังแสดงในภาพ
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS (Thai University
Central Admission System) ปีการศึกษา 2562 โดยใช้ข้อมูลแบบปฐมภูมิ
(Primary Data) และทุติยภูมิ (Secondary Data) จากหนังสือ วารสาร
และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี
และทำการสุ่มตัวอย่างจากคณะต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน
ถูกต้องและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยมีเนื้อหา ดังนี้
3.1 หน่วยในการวิเคราะห์
3.2 ประชากร
กลุ่มตัวอย่าง และวิธีการสุ่มตัวอย่าง
3.3
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3.4 การวัดแบบสอบถาม
3.5 การทดสอบเครื่องมือในการวิจัย
3.6 การเก็บรวบรวมข้อมูล
3.7
การประมวลผลและการวิเคราะห์ข้อมูล
3.8 ขอบเขตของการวิจัย
3.1 หน่วยในการวิเคราะห์
เป็นปัจเจกบุคคลของนักศึกษา
ในมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา 2562
3.2 ประชากร กลุ่มตัวอย่าง และวิธีการสุ่มตัวอย่าง
1. ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่
นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เข้าศึกษาต่อในปีการศึกษา 2562
จากทุกคณะที่สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 8,217 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง คือ การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
โดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน ในระดับความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 5%
และระดับความเชื่อมั่น 95% จำนวน 368 คน
3. การสุ่มตัวอย่าง โดยการจับสลากเลือกคณะ 35%
ได้ทั้งหมด 9 คณะ และหาสัดส่วนตัวอย่างดังตาราง
ตาราง 3.1 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา
คณะ |
จำนวนนักศึกษา |
กลุ่มตัวอย่าง |
1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ , EN |
682 |
96 |
2. คณะศึกษาศาสตร์ , ED |
494 |
79 |
3. คณะพยาบาลศาสตร์ , NU |
178 |
25 |
4. คณะแพทยศาสตร์ , MD |
354 |
50 |
5. คณะเทคนิคการแพทย์ , AM |
291 |
41 |
6. คณะสาธารณสุขศาสตร์ , PH |
156 |
22 |
7. คณะสัตวแพทยศาสตร์ , VM |
74 |
10 |
8. คณะศิลปกรรมศาสตร์ , FA |
245 |
34 |
9. คณะเศรษฐศาสตร์ , ECON |
149 |
21 |
รวมทั้งสิ้น |
2,623 |
368 |
3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCASปีการศึกษา 2562
โดยแบ่งแบบสอบเป็น 3 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้ข้อมูล
ได้แก่ เพศ ภูมิลำเนา ผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 อาชีพของผู้ปกครอง
รายได้รวมต่อเดือนของครอบครัว คณะ
และรอบระบบ TCAS
ที่นักศึกษาได้รับคัดเลือกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีการศึกษา 2562
ตอนที่ 2
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา 2562
ตอนที่ 3
ข้อเสนอแนะอื่น ๆ
ที่เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่นของนักศึกษา ผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา 2562
3.4 การวัดแบบสอบถาม
1) เกณฑ์การแปลผลแบบสอบถาม
คณะผู้ศึกษาได้กำหนดระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา 2562
ดังนี้
มากที่สุด หมายถึง นักศึกษาเห็นว่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษา ต่อในระดับ มากที่สุด
มาก หมายถึง
นักศึกษาเห็นว่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษา ต่อในระดับ มาก
ปานกลาง หมายถึง
นักศึกษาเห็นว่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษา ต่อในระดับ ปานกลาง
น้อย หมายถึง
นักศึกษาเห็นว่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษา ต่อในระดับ น้อย
น้อยที่สุด หมายถึง
นักศึกษาเห็นว่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษา ต่อในระดับ น้อยที่สุด
2) เกณฑ์การให้คะแนน
คณะผู้ศึกษากำหนดให้แต่ละระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มีค่าคะแนนต่างกัน ดังนี้
มากที่สุด มีค่าคะแนนเท่ากับ 5 คะแนน
มาก มีค่าคะแนนเท่ากับ 4 คะแนน
ปานกลาง มีค่าคะแนนเท่ากับ 3 คะแนน
น้อย มีค่าคะแนนเท่ากับ 2 คะแนน
น้อยที่สุด มีค่าคะแนนเท่ากับ 1 คะแนน
กำหนดเกณฑ์ค่าเฉลี่ยในการวิเคราะห์คะแนนในแต่ละระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับ
ต่าง ๆ ดังนี้ (ธานินทร์ ศิลป์จารุ, 2560)
ช่วงค่าเฉลี่ย 1.00 ถึง 1.49 หมายถึง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
อยู่ในระดับ น้อยที่สุด
ช่วงค่าเฉลี่ย 1.50 ถึง 2.49 หมายถึง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี อยู่ในระดับ น้อย
ช่วงค่าเฉลี่ย 2.50 ถึง 3.49 หมายถึง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี อยู่ในระดับ
ปานกลาง
ช่วงค่าเฉลี่ย 3.50 ถึง 4.49 หมายถึง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี อยู่ในระดับ มาก
ช่วงค่าเฉลี่ย 4.50 ถึง 5.00 หมายถึง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี อยู่ในระดับ
มากที่สุด
3.5 การทดสอบเครื่องมือในการวิจัย
การทดสอบเครื่องมือในการวิจัยเพื่อพิจารณาถึงความแม่นตรงเชิงเนื้อหาสาระ
(Content
Validity) และการทดสอบความเชื่อถือได้ (Reliability) รายละเอียดดังนี้
1.
การทดสอบความแม่นตรงเชิงเนื้อหา
โดยการนำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาและหาค่า IOC ได้เท่ากับ 1.00
2.
การทดสอบความเชื่อถือได้
โดยการนำแบบสอบถามที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดสอบความเชื่อถือได้กับบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษา
โดยส่งไปให้นักศึกษา
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 30 ชุด แล้วนำมาหาค่าความเชื่อถือได้โดยใช้สูตร Cronbach's alpha ได้เท่ากับ 0.892
3.6 การเก็บรวบรวมข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้คณะผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์
โดยมีขั้นตอนดังนี้
1)
จัดทำหนังสือขออนุญาตคณะฯ เพื่อส่งแบบสอบถามออนไลน์
2) ส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยัง E-mail นักศึกษาโดยให้ตอบกลับมาภายใน
7 วัน ทำเช่นนี้ 3 รอบ เพื่อให้ได้รับแบบสอบถามกลับมา
3)
ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามที่ได้รับ
กลับคืน
3.7 การประมวลผลและการวิเคราะห์ข้อมูล
การประมวลผลและการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถาม
คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการตรวจสอบความครบถ้วนสมบูรณ์ของการตอบแบบสอบถามโดยแยกแบบสอบถามที่ไม่สมบูรณ์ออก
ลงรหัสตามที่กำหนดไว้ ประมวลผลข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป SPSS โดยวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
1)
การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive
Statistics) ซึ่งประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage)
เพื่อวิเคราะห์ลักษณะของของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา
2)
การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประจำปีการศึกษา 2562 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive
Statistics) ประกอบด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
และวิเคราะห์ข้อมูลแบบถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ด้วยวิธีแบบคัดเลือกเข้า (Stepwise Selection) เพื่อใช้วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยขอนแก่น
โดยนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตารางควบคู่กับการบรรยาย
3)
นำข้อเสนอแนะอื่น ๆ จากแบบสอบถาม ส่วนที่ 3 มาสรุปหรือวิเคราะห์ในลักษณะการบรรยายเชิงพรรณนา
3.8 ขอบเขตของการวิจัย
3.8.1 ขอบเขตของเนื้อหา
ศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีการศึกษา 2562 ประกอบด้วย
1. ปัจจัยส่วนบุคคล
2. ปัจจัยเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย
ประกอบด้วย 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้านหลักสูตร
ด้านการบริหารจัดการ ด้านอาจารย์ผู้สอน
ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยด้านเหตุผลส่วนตัว
3.8.2 ขอบเขตด้านเวลา
การศึกษาในครั้งนี้จะใช้เวลาในการดำเนินการศึกษา ตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2562 ถึง เมษายน 2563 ตามตารางแบบแผนการศึกษา ดังนี้
ตาราง
3.2 แบบแผนในการศึกษา
เดือน |
ธันวาคม |
มกราคม |
กุมภาพันธ์ |
มีนาคม |
เมษายน |
การเสนอเค้าโครงวิจัย |
|
|
|
|
|
ศึกษาหัวข้อวิจัย |
|
|
|
|
|
ทบทวนวรรณกรรม |
|
|
|
|
|
สร้างเครื่องมือการวิจัย |
|
|
|
|
|
เสนอเค้าโครงวิจัย |
|
|
|
|
|
วิธีดำเนินการวิจัย |
|
|
|
|
|
เก็บรวบรวมข้อมูล |
|
|
|
|
|
วิเคราะห์ข้อมูล |
|
|
|
|
|
แปลผลข้อมูล |
|
|
|
|
|
สรุปผลการวิจัย |
|
|
|
|
|
อภิปรายผล |
|
|
|
|
|
เขียนรายงานวิจัย |
|
|
|
|
|
เขียนบทความวิจัย |
|
|
|
|
|
3.8.3 ขอบเขตด้านประชากร
ประชากรที่ใช้การศึกษาในครั้งนี้ คือ
นักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้ามาศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปีการศึกษา 2562
บทที่ 4
ผลการศึกษา
การศึกษา เรื่อง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่นของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS (Thai
University Central Admission System) ปีการศึกษา 2562
โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาจากคณะต่าง
ๆ ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับ ดังนี้
4.1 การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมายของผลการวิเคราะห์ข้อมูล
4.2
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
4.3
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา 2562
4.4
การวิเคราะห์คุณลักษณะปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา
2562
4.5
การทดสอบสมมติฐานการวิเคราะห์อำนาจพยากรณ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา
2562
4.6
การทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์แบบพหุคูณที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นผ่าน
ระบบ TCAS
4.1
การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมายของผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมายของผลการวิเคราะห์ข้อมูล
คณะผู้ศึกษาได้กำหนดสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
Y แทน การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ
Y1 แทน รอบที่ 1
คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
Y2 แทน รอบที่
2 สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน สำหรับนักเรียนในพื้นที่
Y3 แทน รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน
Y4 แทน รอบที่ 4 การรับ Admission
Y5 แทน รอบที่ 5 การรับตรงแบบอิสระ
X แทน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ
TCAS ปีการศึกษา 2562
X1 แทน ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
X2 แทน ปัจจัยด้านหลักสูตร
X3 แทน ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ
X4 แทน ปัจจัยด้านอาจารย์ผู้สอน
X5 แทน ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย
X6 แทน ปัจจัยด้านเหตุผลส่วนตัว
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามโดยคณะผู้ศึกษาได้แจกแบบสอบถามออนไลน์
ให้กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562
ที่ผ่านระบบ TCAS จาก 9 คณะ จำนวน 368 ชุด
และทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืน
พบว่ามีแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์ จำนวน 368 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100
โดยนำเสนอข้อมูลในรูปของความถี่ และค่าร้อยละ ดังปรากฏผลดังนี้
ตารางที่
4.1
แสดงจำนวน ร้อยละ เพศของผู้ตอบแบบสอบถาม
เพศ |
จำนวน (คน) |
ร้อยละ |
1.
ชาย |
103 |
27.2 |
2.
หญิง |
265 |
72.8 |
รวมทั้งสิ้น |
368 |
100.0 |
จากตาราง 4.1 ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปจากกลุ่มตัวอย่างโดยจำแนกตามเพศ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 72.80 และเพศชาย ร้อยละ 27.2
ตารางที่
4.2
แสดงจำนวน ร้อยละ ช่วงรายได้ต่อเดือนของผู้ปกครอง
รายได้ต่อเดือน |
จำนวน (คน) |
ร้อยละ |
1.
ต่ำกว่า 10,000 บาท/เดือน |
28 |
7.61 |
2. 10,001-20,000 บาท/เดือน |
113 |
30.71 |
3. 20,001-25,000 บาท/เดือน |
9 |
2.45 |
4. 25,001-30,000 บาท/เดือน |
62 |
16.85 |
5. 30,001-35,000 บาท/เดือน |
8 |
2.17 |
6. 35,501-40,000 บาท/เดือน |
16 |
4.35 |
7. 40,001-45,000 บาท/เดือน |
5 |
1.36 |
8. 45,001-50,000 บาท/เดือน |
35 |
9.51 |
10.
มากกว่า 50,000 บาท/เดือน |
92 |
25.00 |
รวมทั้งสิ้น |
368 |
100.0 |
จากตาราง 4.2 ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปจากกลุ่มตัวอย่างโดยจำแนกตามรายได้ต่อเดือนของผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ผู้ปกครองมีรายได้ 10,001-20,000 บาท/เดือน
คิดเป็นร้อยละ 30.71 รองลงมาผู้ปกครองมีรายได้มากกว่า 50,000 บาท/เดือน คิดเป็นร้อยละ 25.0
และน้อยที่สุดคือผู้ปกครองมีรายได้ 40,001-45,000 บาท/เดือน คิดเป็นร้อยละ
1.36
ตารางที่
4.3
แสดงจำนวนและร้อยละ คณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามศึกษาอยู่
คณะ |
จำนวน (คน) |
ร้อยละ |
1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
96 |
26.09 |
2. คณะศึกษาศาสตร์ |
69 |
18.75 |
3. คณะพยาบาลศาสตร์ |
25 |
6.79 |
4. คณะแพทยศาสตร์ |
50 |
13.59 |
5. คณะเทคนิคการแพทย์ |
41 |
11.14 |
6. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
22 |
5.98 |
7. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
10 |
2.72 |
8. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
34 |
9.24 |
9. คณะเศรษฐศาสตร์ |
21 |
5.71 |
รวมทั้งสิ้น |
368 |
100.0 |
จากตาราง 4.3
ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปจากกลุ่มตัวอย่างโดยจำแนกตามคณะ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์
คิดเป็นร้อยละ 26.09 รองลงมา คือ ศึกษาในคณะศึกษาศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 18.75 และ
น้อยที่สุด คือ ศึกษาในคณะสัตวแพทยศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 2.72
ตารางที่
4.4
แสดงจำนวน ร้อยละ ของภูมิลำเนาของผู้ตอบแบบสอบถาม
จังหวัด |
จำนวน (คน) |
ร้อยละ |
1. ขอนแก่น |
56 |
15.22 |
2. นครราชสีมา |
38 |
10.33 |
3. ร้อยเอ็ด |
33 |
8.97 |
4. กาฬสินธุ์ |
32 |
8.70 |
5. มหาสารคาม |
30 |
8.15 |
6. สุรินทร์ |
24 |
6.52 |
7. ชัยภูมิ |
17 |
4.62 |
8. บุรีรัมย์ |
17 |
4.62 |
9. บึงกาฬ |
16 |
4.35 |
10. ศรีสะเกษ |
16 |
4.35 |
11. อุดรธานี |
15 |
4.08 |
12. สกลนคร |
14 |
3.80 |
13. นครพนม |
13 |
3.53 |
14. เลย |
12 |
3.26 |
15. อุบลราชธานี |
11 |
2.99 |
16. มุกดาหาร |
6 |
1.63 |
17. หนองคาย |
6 |
1.63 |
18. ชลบุรี |
5 |
1.36 |
19. น่าน |
4 |
1.09 |
20. ร้อยเอ็ด |
3 |
0.82 |
รวมทั้งสิ้น |
368 |
100.0 |
จากตาราง 4.4
ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปจากกลุ่มตัวอย่างโดยจำแนกตามภูมิลำเนา
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดขอนแก่น คิดเป็นร้อยละ 15.22 รองลงมามีภูมิลำเนาอยู่ในอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา คิดเป็นร้อยละ 10.33 และ
น้อยที่สุด คือ มีภูมิลำเนาอยู่ในอยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด คิดเป็นร้อยละ 0.82
ตารางที่
4.5
แสดงจำนวน ร้อยละ ช่วงเกรดเฉลี่ย (GPA)
ของผู้ตอบแบบสอบถามในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6
ช่วงเกรดเฉลี่ย (GPA) |
จำนวน (คน) |
ร้อยละ |
1. เกรดเฉลี่ย (GPA) 3.01 - 4.00 |
360 |
97.82 |
2. เกรดเฉลี่ย (GPA) 2.01 - 3.00 |
8 |
2.18 |
รวมทั้งสิ้น |
368 |
100.0 |
จากตาราง 4.5
ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปจากกลุ่มตัวอย่างโดยจำแนกตามเกรดเฉลี่ยของผู้ตอบแบบสอบถามในระดับมัธยมศึกษาปีที่
6
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีเกรดเฉลี่ยอยู่ในช่วง 3.01
– 4.00 คิดเป็นร้อยละ 97.82 ตามลำดับ และน้อยที่สุด คือ
มีเกรดเฉลี่ยอยู่ในช่วง 2.01 – 3.00 คิดเป็นร้อยละ 2.18
ตารางที่
4.6 แสดงจำนวน ร้อยละ
อาชีพผู้ปกครองของผู้ตอบแบบสอบถาม
อาชีพของผู้ปกครอง |
จำนวน (คน) |
ร้อยละ |
1.
รับราชการ |
142 |
38.59 |
2.
เกษตรกร |
71 |
19.29 |
3.
ธุรกิจส่วนตัว |
65 |
17.66 |
4.
รับจ้าง |
61 |
16.58 |
5.
ค้าขาย |
14 |
3.80 |
6.
พนักงานเอกชน |
9 |
2.45 |
7.
พนักงานรัฐวิสาหากิจ |
3 |
0.82 |
8.
ลูกจ้าง |
3 |
0.82 |
รวมทั้งสิ้น |
368 |
100.0 |
จากตาราง 4.6
ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปจากกลุ่มตัวอย่างโดยจำแนกตามอาชีพของผู้ปกครอง
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ผู้ปกครองมีอาชีพรับราชการ คิดเป็นร้อยละ 38.59
รองลงมาผู้ปกครองมีอาชีพเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 19.29 ตามลำดับ และ น้อยที่สุด คือ
ผู้ปกครองมีอาชีพรัฐวิสาหกิจและลูกจ้าง คิดเป็นร้อยละ 0.82
ตารางที่ 4.7 แสดงจำนวน ร้อยละ
การเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยระบบ TCAS
ของผู้ตอบแบบสอบถาม
ระบบ TCAS |
จำนวน (คน) |
ร้อยละ |
1.
รอบ 1 คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) |
24 |
6.52 |
2.
รอบ 2 สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน สำหรับนักเรียนในพื้นที่ |
175 |
47.55 |
3.
รอบ 3 การรับตรงร่วมกัน |
93 |
25.27 |
4.
รอบ 4 การรับ Admission |
48 |
13.04 |
5.
รอบ 5 การรับตรงแบบอิสระ |
28 |
7.61 |
รวมทั้งสิ้น |
368 |
100.0 |
จากตาราง 4.7
ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปจากกลุ่มตัวอย่างโดยจำแนกตามการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยขอนแก่น
โดยระบบ TCAS กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เข้าศึกษาในรอบ 2 สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน
สำหรับนักเรียนในพื้นที่ คิดเป็นร้อยละ 47.55 รองลงมา คือ เข้าศึกษารอบ
3 การรับตรงร่วมกัน คิดเป็นร้อยละ 25.27 และน้อยที่สุด คือ รอบ 1
คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) คิดเป็นร้อยละ
6.25
4.3
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา
2562
คณะผู้ศึกษานำเสนอข้อมูลในรูปแบบของข้อมูลค่าเฉลี่ย
(Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ระดับความคิดเห็น และลำดับแสดงในตาราง
ตารางที่ 4.8 แสดงค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา 2562
ในภาพรวม
ที่ |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ |
|
S.D. |
แปลความหมาย |
ระดับ |
1 |
ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น |
4.06 |
0.57 |
มาก |
3 |
2 |
ด้านหลักสูตร |
4.03 |
0.58 |
มาก |
4 |
3 |
ด้านการบริหารจัดการ |
4.10 |
0.55 |
มาก |
2 |
4 |
ด้านอาจารย์ผู้สอน |
4.01 |
0.61 |
มาก |
5 |
5 |
ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย |
4.12 |
0.63 |
มาก |
1 |
6 |
ด้านเหตุผลส่วนตัว |
3.57 |
0.72 |
มาก |
6 |
ภาพรวมทุกด้าน |
3.98 |
0.62 |
มาก |
|
จากตาราง 4.8 แสดงค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา
2562 พบว่า ภาพรวมทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.98)
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย
3
อันดับ ดังนี้ อันดับที่ 1 คือ ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย (ค่าเฉลี่ย
= 4.12) อันดับที่ 2 คือ
ด้านการบริหารจัดการ (ค่าเฉลี่ย = 4.10)
และอันดับ 3 คือ ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ขอนแก่น (ค่าเฉลี่ย =
4.06)
ตารางที่ 4.9 แสดงค่าเฉลี่ย
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา 2562
ในด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
ที่ |
ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย |
|
S.D. |
แปลความหมาย |
ระดับ |
1 |
ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย |
4.10 |
0.71 |
มาก |
2 |
2 |
เป็นมหาวิทยาลัยที่คณะวิชาที่หลากหลาย |
3.87 |
0.84 |
มาก |
4 |
3 |
เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความโดดเด่นด้านการเรียนการสอน |
4.10 |
0.74 |
มาก |
3 |
4 |
เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความโดดเด่นด้านการวิจัย |
3.85 |
0.90 |
มาก |
5 |
5 |
บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาแล้วได้รับการยอมรับจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน |
4.37 |
0.72 |
มาก |
1 |
|
ภาพรวมด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น |
4.06 |
0.57 |
มาก |
|
จากตาราง 4.9 แสดงค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา
2562 ในด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย พบว่า
ภาพรวมด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.06)
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย
3
อันดับ ดังนี้ อันดับที่ 1 คือ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาแล้วได้รับการยอมรับจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
(ค่าเฉลี่ย
= 4.37) อันดับที่ 2 คือ
ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยและเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความโดดเด่นด้านการเรียนการสอน
(ค่าเฉลี่ย
= 4.10) และอันดับ 3 คือ เป็นมหาวิทยาลัยที่คณะวิชาที่หลากหลาย
(ค่าเฉลี่ย = 3.87)
ตารางที่ 4.10 แสดงค่าเฉลี่ย
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา 2562
ในด้านหลักสูตร
ที่ |
ด้านหลักสูตร |
|
S.D. |
แปลความหมาย |
ระดับ |
1 |
มีมาตรฐานวิชาการที่มีคุณภาพ |
4.16 |
0.69 |
มาก |
1 |
2 |
มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา |
4.09 |
0.77 |
มาก |
3 |
3 |
หลักสูตรที่เปิดสอนเป็นที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน |
3.93 |
0.79 |
มาก |
7 |
4 |
หลักสูตรมีความทันสมัย
และทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน |
4.13 |
0.69 |
มาก |
2 |
5 |
หลักสูตรที่เปิดสอนมีชื่อเสียง |
3.97 |
0.86 |
มาก |
6 |
6 |
หลักสูตรที่เปิดสอนตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน |
3.99 |
0.83 |
มาก |
4 |
7 |
หลักสูตรที่เปิดสอนเน้นทางด้านวิชาการ/วิชาชีพ |
3.95 |
0.90 |
มาก |
5 |
|
ภาพรวมด้านหลักสูตร |
4.03 |
0.58 |
มาก |
|
จากตาราง 4.10 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา
2562 ในด้านหลักสูตร พบว่าภาพรวมด้านหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย
= 4.03)
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย
3 อันดับ ดังนี้ อันดับที่ 1 คือ มีมาตรฐานวิชาการที่มีคุณภาพ (ค่าเฉลี่ย
= 4.16) อันดับที่ 2 คือ หลักสูตรมีความทันสมัย
และทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน (ค่าเฉลี่ย = 4.13) และอันดับ 3 มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
(ค่าเฉลี่ย = 4.09)
ตารางที่ 4.11 แสดงค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา 2562
ในด้านการบริหารจัดการ
ที่ |
ด้านการบริหารจัดการ |
|
S.D. |
แปลความหมาย |
ระดับ |
1 |
เป็นมหาวิทยาลัยที่มีทุนสนับสนุนการศึกษา |
3.88 |
0.86 |
มาก |
5 |
2 |
ค่าเทอมมีราคาที่เหมาะสมและไม่แพง |
4.42 |
0.74 |
มาก |
1 |
3 |
ค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากค่าเทอมไม่สูงเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่น |
4.06 |
0.81 |
มาก |
3 |
4 |
มีจำนวนเทอมต่อปีการศึกษาที่เหมาะสม |
4.18 |
0.78 |
มาก |
2 |
5 |
มีระบบรับเข้าหลากหลายช่องทาง |
3.96 |
0.83 |
มาก |
4 |
|
ภาพรวมด้านการบริหารจัดการ |
4.10 |
0.55 |
มาก |
|
จากตาราง 4.11 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีการศึกษา 2562 ด้านการบริหารจัดการ พบว่า
ภาพรวมด้านการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.10)
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย
3
อันดับ ดังนี้ อันดับที่ 1 คือ ค่าเทอมมีราคาที่เหมาะสมและไม่แพง (ค่าเฉลี่ย
= 4.42) อันดับที่ 2 คือ มีจำนวนเทอมต่อปีการศึกษาที่เหมาะสม (ค่าเฉลี่ย
= 4.18) และอันดับ 3 ค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากค่าเทอมไม่สูงเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่น (ค่าเฉลี่ย
= 4.06)
ตารางที่ 4.12 แสดงค่าเฉลี่ย
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา 2562
ในด้านอาจารย์ผู้สอน
ที่ |
ด้านอาจารย์ผู้สอน |
|
S.D. |
แปลความหมาย |
ระดับ |
1 |
เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคณาจารย์มีความรู้เชี่ยวชาญหลากหลายด้าน |
4.18 |
0.67 |
มาก |
1 |
2 |
คณาจารย์มีชื่อเสียงหลากหลายด้าน |
3.91 |
0.84 |
มาก |
5 |
3 |
คณาจารย์มีตำแหน่งทางวิชาการจำนวนมาก |
3.94 |
0.82 |
มาก |
4 |
4 |
ความใจใส่ของอาจารย์ให้การดูแลนักศึกษา |
4.01 |
0.86 |
มาก |
3 |
5 |
อาจารย์มีการวางแผนการสอนให้ผู้เรียนมีกิจกรรมร่วมกัน |
4.04 |
0.83 |
มาก |
2 |
|
ภาพรวมด้านอาจารย์ผู้สอน |
4.01 |
0.61 |
มาก |
|
จากตาราง 4.12 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา
2562 ในด้านอาจารย์ผู้สอนพบว่า ภาพรวมด้านอาจารย์ผู้สอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
(ค่าเฉลี่ย = 4.01)
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย
3
อันดับ ดังนี้ อันดับที่ 1 คือ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคณาจารย์มีความรู้เชี่ยวชาญหลากหลายด้าน
(ค่าเฉลี่ย
= 4.18) อันดับที่ 2 คือ อาจารย์มีการวางแผนการสอนให้ผู้เรียนมีกิจกรรมร่วมกัน
(ค่าเฉลี่ย
= 4.04) และอันดับ 3 ความใจใส่ของอาจารย์ให้การดูแลนักศึกษา
(ค่าเฉลี่ย = 4.01)
ตารางที่ 4.13 ค่าเฉลี่ย
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา 2562 ในด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย
ที่ |
ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย |
|
S.D. |
แปลความหมาย |
ระดับ |
1 |
เป็นมหาวิทยาลัยที่มีอุปกรณ์การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย |
4.05 |
0.77 |
มาก |
7 |
2 |
เป็นมหาวิทยาลัยที่มีสภาพแวดล้อมร่มรื่น
และสวยงาม |
4.20 |
0.80 |
มาก |
2 |
3 |
ที่ตั้งของอาคารสถานที่มีความเหมาะสม |
3.99 |
0.82 |
มาก |
8 |
4 |
มีบริการห้องสมุดที่ทันสมัย |
4.20 |
0.79 |
มาก |
3 |
5 |
มีโรงอาหารสำหรับนักศึกษา |
4.05 |
0.90 |
มาก |
5 |
6 |
ใกล้สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาล |
4.30 |
0.77 |
มาก |
1 |
7 |
มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
4.05 |
0.83 |
มาก |
6 |
8 |
มีการบริการการอินเตอร์เน็ตที่เข้าถึงได้ง่าย/รวดเร็ว |
4.15 |
0.78 |
มาก |
4 |
|
ภาพรวมด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย |
4.12 |
0.63 |
มาก |
|
จากตาราง 4.13 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา
2562 ในด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย พบว่า ภาพรวมด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย
มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.12)
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย
3
อันดับ ดังนี้ อันดับที่ 1 คือ ใกล้สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาล (ค่าเฉลี่ย
= 4.30) อันดับที่ 2 คือ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีสภาพแวดล้อมร่มรื่น
และสวยงามและมีบริการห้องสมุดที่ทันสมัย (ค่าเฉลี่ย = 4.20) และอันดับ 3 มีการบริการการอินเตอร์เน็ตที่เข้าถึงได้ง่าย/รวดเร็ว
(ค่าเฉลี่ย = 4.15)
ตารางที่ 4.14 แสดงค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา 2562
ในด้านเหตุผลส่วนตัว
ที่ |
ด้านเหตุผลส่วนตัว |
|
S.D. |
แปลความหมาย |
ระดับ |
1 |
มีหลักสูตรและสาขาวิชาตรงตามความต้องการ |
4.22 |
0.74 |
มาก |
1 |
2 |
เมื่อสำเร็จการศึกษามีโอกาสได้งานทำสูง |
4.15 |
0.80 |
มาก |
2 |
3 |
เพื่อนเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นจำนวนมาก |
3.37 |
1.17 |
ปานกลาง |
3 |
4 |
ครูที่ปรึกษาเป็นผู้แนะนำให้เลือกเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ |
3.25 |
1.14 |
ปานกลาง |
5 |
5 |
รุ่นพี่เป็นผู้แนะนำให้เลือกเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ |
3.19 |
1.11 |
ปานกลาง |
6 |
6 |
บุคคลที่นักเรียนประทับใจ
(Idol) เป็นศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ |
3.26 |
1.24 |
ปานกลาง |
4 |
|
ภาพรวมด้านเหตุผลส่วนตัว |
3.57 |
0.72 |
มาก |
|
จากตาราง 4.14 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีการศึกษา 2562 ด้านเหตุผลส่วนตัว พบว่า
ภาพรวมด้านเหตุผลส่วนตัวมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.57)
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย
3
อันดับ ดังนี้ อันดับที่ 1 คือ มีหลักสูตรและสาขาวิชาตรงตามความต้องการ
(ค่าเฉลี่ย
= 4.22) อันดับที่ 2 คือ เมื่อสำเร็จการศึกษามีโอกาสได้งานทำสูง (ค่าเฉลี่ย
= 4.15) และอันดับ 3 เพื่อนเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นจำนวนมาก
(ค่าเฉลี่ย = 3.37)
4.4
การวิเคราะห์คุณลักษณะปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา
2562
การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของปัจจัยพยากรณ์ต่าง
ๆ แบบเพียร์สัน (Pearson
Correlation) ใช้สัญลักษณ์ r เป็นวิธีหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม
โดยข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ได้ตามลักษณะ คือ
ต้องเป็นข้อมูลในมาตราอัตรภาคหรืออัตราส่วน (Interval or Ratio scale) ผลการตรวจสอบค่า Multicollinearity พบว่า
ตัวแปรอิสระทุกตัวเป็นอิสระต่อกัน (ค่าสหสัมพันธ์ไม่เกิน 0.7) ดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่
4.15
แสดงค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระเป็นรายด้านที่ใช้ในการศึกษาต่อ รอบที่ 1
คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) (Y1 )
Correlations |
|||||||
|
Y1 |
X1 |
X2 |
X3 |
X4 |
X5 |
X6 |
Y1 |
1.000 |
0.014 |
-0.157 |
0.054 |
-0.048 |
-0.001 |
0.029 |
X1 |
0.014 |
1.000 |
0.645 |
0.362 |
0.550 |
0.296 |
0.422 |
X2 |
-0.157 |
0.645 |
1.000 |
0.405 |
0.556 |
0.381 |
0.424 |
X3 |
0.054 |
0.362 |
0.405 |
1.000 |
0.545 |
0.461 |
0.457 |
X4 |
-0.048 |
0.550 |
0.556 |
0.545 |
1.000 |
0.510 |
0.411 |
X5 |
-0.001 |
0.296 |
0.381 |
0.461 |
0.510 |
1.000 |
0.220 |
X6 |
0.029 |
0.422 |
0.424 |
0.457 |
0.411 |
0.220 |
1.000 |
จากตารางที่ 4.15
แสดงค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระเป็นรายด้านที่ใช้ในการศึกษาต่อ รอบที่ 1 คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) พบว่า
การตรวจสอบค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระทั้งหมดอยู่ในระดับปกติที่ระดับนัยสำคัญที่
0.05 ซึ่งตัวแปรอิสระทุกตัวเป็นอิสระต่อกัน (ค่าสหสัมพันธ์ไม่เกิน 0.7)
จึงสามารถใช้ตัวแปรอิสระทั้งหมดในการศึกษาขั้นตอนต่อไปได้
ตารางที่
4.16
แสดงค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระเป็นรายด้านที่ใช้ในการศึกษาต่อ รอบที่ 2
สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน สำหรับนักเรียนในพื้นที่ (Y2 )
Correlations |
|||||||
|
Y2 |
X1 |
X2 |
X3 |
X4 |
X5 |
X6 |
Y2 |
1.000 |
0.001 |
0.041 |
0.037 |
-0.057 |
0.106 |
-0.012 |
X1 |
0.001 |
1.000 |
0.645 |
0.362 |
0.550 |
0.296 |
0.422 |
X2 |
0.041 |
0.645 |
1.000 |
0.405 |
0.556 |
0.381 |
0.424 |
X3 |
0.037 |
0.362 |
0.405 |
1.000 |
0.545 |
0.461 |
0.457 |
X4 |
-0.057 |
0.550 |
0.556 |
0.545 |
1.000 |
0.510 |
0.411 |
X5 |
0.106 |
0.296 |
0.381 |
0.461 |
0.510 |
1.000 |
0.220 |
X6 |
-0.012 |
0.422 |
0.424 |
0.457 |
0.411 |
0.220 |
1.000 |
จากตารางที่ 4.16
แสดงค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระเป็นรายด้านที่ใช้ในการศึกษาต่อ รอบที่ 2 สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน
สำหรับนักเรียนในพื้นที่ พบว่า
การตรวจสอบค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระทั้งหมดอยู่ในระดับปกติที่ระดับนัยสำคัญที่
0.05 ซึ่งตัวแปรอิสระทุกตัวเป็นอิสระต่อกัน (ค่าสหสัมพันธ์ไม่เกิน 0.7)
จึงสามารถใช้ตัวแปรอิสระทั้งหมดในการศึกษาขั้นตอนต่อไปได้
ตารางที่
4.17
แสดงค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระเป็นรายด้านที่ใช้ในการศึกษาต่อ รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน(Y3 )
Correlations |
|||||||
|
Y3 |
X1 |
X2 |
X3 |
X4 |
X5 |
X6 |
Y3 |
1.000 |
0.179 |
0.079 |
-0.006 |
0.082 |
-0.053 |
0.006 |
X1 |
0.179 |
1.000 |
0.645 |
0.362 |
0.550 |
0.296 |
0.422 |
X2 |
0.079 |
0.645 |
1.000 |
0.405 |
0.556 |
0.381 |
0.424 |
X3 |
-0.006 |
0.362 |
0.405 |
1.000 |
0.545 |
0.461 |
0.457 |
X4 |
0.082 |
0.550 |
0.556 |
0.545 |
1.000 |
0.510 |
0.411 |
X5 |
-0.053 |
0.296 |
0.381 |
0.461 |
0.510 |
1.000 |
0.220 |
X6 |
0.006 |
0.422 |
0.424 |
0.457 |
0.411 |
0.220 |
1.000 |
จากตารางที่ 4.17
แสดงค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระเป็นรายด้านที่ใช้ในการศึกษาต่อ รอบที่
3 การรับตรงร่วมกัน พบว่า
การตรวจสอบค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระทั้งหมดอยู่ในระดับปกติที่ระดับนัยสำคัญที่
0.05 ซึ่งตัวแปรอิสระทุกตัวเป็นอิสระต่อกัน (ค่าสหสัมพันธ์ไม่เกิน 0.7)
จึงสามารถใช้ตัวแปรอิสระทั้งหมดในการศึกษาขั้นตอนต่อไปได้
ตารางที่
4.18
แสดงค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระเป็นรายด้านที่ใช้ในการศึกษาต่อ รอบที่ 4 การรับ Admission (Y4 )
Correlations |
|||||||
|
Y4 |
X1 |
X2 |
X3 |
X4 |
X5 |
X6 |
Y4 |
1.000 |
-0.076 |
0.106 |
-0.106 |
0.054 |
0.014 |
0.030 |
X1 |
-0.076 |
1.000 |
0.645 |
0.362 |
0.550 |
0.296 |
0.422 |
X2 |
0.106 |
0.645 |
1.000 |
0.405 |
0.556 |
0.381 |
0.424 |
X3 |
-0.106 |
0.362 |
0.405 |
1.000 |
0.545 |
0.461 |
0.457 |
X4 |
0.054 |
0.550 |
0.556 |
0.545 |
1.000 |
0.510 |
0.411 |
X5 |
0.014 |
0.296 |
0.381 |
0.461 |
0.510 |
1.000 |
0.220 |
X6 |
0.030 |
0.422 |
0.424 |
0.457 |
0.411 |
0.220 |
1.000 |
จากตารางที่ 4.18
แสดงค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระเป็นรายด้านที่ใช้ในการศึกษาต่อ รอบที่
4 การรับ Admission พบว่า
การตรวจสอบค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระทั้งหมดอยู่ในระดับปกติที่ระดับนัยสำคัญที่
0.05 ซึ่งตัวแปรอิสระทุกตัวเป็นอิสระต่อกัน (ค่าสหสัมพันธ์ไม่เกิน 0.7)
จึงสามารถใช้ตัวแปรอิสระทั้งหมดในการศึกษาขั้นตอนต่อไปได้
ตารางที่
4.19
แสดงค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระเป็นรายด้านที่ใช้ในการศึกษาต่อ รอบที่ 5 การรับตรงแบบอิสระ (Y5 )
Correlations |
|||||||
|
Y5 |
X1 |
X2 |
X3 |
X4 |
X5 |
X6 |
Y5 |
1.000 |
-0.136 |
-0.135 |
0.035 |
-0.012 |
-0.146 |
-0.043 |
X1 |
-0.136 |
1.000 |
0.645 |
0.362 |
0.550 |
0.296 |
0.422 |
X2 |
-0.135 |
0.645 |
1.000 |
0.405 |
0.556 |
0.381 |
0.424 |
X3 |
0.035 |
0.362 |
0.405 |
1.000 |
0.545 |
0.461 |
0.457 |
X4 |
-0.012 |
0.550 |
0.556 |
0.545 |
1.000 |
0.510 |
0.411 |
X5 |
-0.146 |
0.296 |
0.381 |
0.461 |
0.510 |
1.000 |
0.220 |
X6 |
-0.043 |
0.422 |
0.424 |
0.457 |
0.411 |
0.220 |
1.000 |
จากตารางที่ 4.19
แสดงค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระเป็นรายด้านที่ใช้ในการศึกษาต่อ รอบที่
5 การรับตรงแบบอิสระ พบว่า
การตรวจสอบค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระทั้งหมดอยู่ในระดับปกติที่ระดับนัยสำคัญที่
0.05 ซึ่งตัวแปรอิสระทุกตัวเป็นอิสระต่อกัน (ค่าสหสัมพันธ์ไม่เกิน 0.7)
จึงสามารถใช้ตัวแปรอิสระทั้งหมดในการศึกษาขั้นตอนต่อไปได้
4.5
การทดสอบสมมติฐานการวิเคราะห์อำนาจพยากรณ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา
2562
การวิเคราะห์ในส่วนนี้เป็นการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาผ่าน
ระบบ TCAS มีผลการวิเคราะห์ดังนี้
4.5.1 ระบบ TCAS รอบ 1 คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
ตารางที่
4.20
แสดงค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อผ่าน ระบบ TCAS รอบ 1 คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
การตัดสินใจเลือก ระบบ TCAS รอบ
1 |
B |
S.E. |
Bata |
t |
sig. |
ค่าคงที่ |
0.080 |
0.113 |
|
0.708 |
0.479 |
ด้านหลักสูตร |
-0.135 |
0.029 |
-0.320 |
-4.686 |
0.000 |
ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น |
0.077 |
0.029 |
0.177 |
2.643 |
0.009 |
ด้านการบริหารจัดการ |
0.053 |
0.025 |
0.120 |
2.137 |
0.033 |
R = 0.243 R
Square = 0.059 S.E. = 0.240 F = 7.704* |
*ระดับนัยสำคัญที่
0.05
จากตารางที่ 4.20
แสดงค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อผ่าน ระบบ TCAS รอบ 1 คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
พบว่า จากตัวแปรทั้ง 6 ด้าน มีตัวแปรจำนวน 3 ด้าน คือ ด้านหลักสูตร
ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้านการบริหารจัดการ
มีความสัมพันธ์แบบพหุคูณกับการตัดสินใจเลือกระบบ TCAS รอบ 1
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเป็น 0.243 และสามารถพยากรณ์การตัดสินใจเลือก ระบบ TCAS รอบ 1
ได้ร้อยละ 5.9 (R Square = 0.059)
เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวพยากรณ์
พบว่า สามารถทำนายการตัดสินใจเลือก ระบบ TCAS รอบ 1
คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ได้สูงสุด คือ
ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีระดับนัยสำคัญที่ 0.05
ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนดิบเท่ากับ 0.077
และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ 0.177 รองลงมาคือ
ด้านการบริหารจัดการ มีระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนดิบเท่ากับ
0.053 และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ 0.120
สมการพยากรณ์การตัดสินใจเลือก
ระบบ TCAS
รอบ 1 สามารถแสดงในรูปคะแนนดิบ เป็นดังนี้
Y1 = 0.080 - 0.135 X2 + 0.077 X1 + 0.053 X3
4.5.2 ระบบ TCAS รอบ 2
สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน สำหรับนักเรียนในพื้นที่
ตารางที่
4.21
แสดงค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อผ่าน ระบบ TCAS รอบ 2 สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน
สำหรับนักเรียนในพื้นที่
การตัดสินใจเลือก ระบบ TCAS รอบ 2 |
B |
S.E. |
Bata |
t |
sig. |
ค่าคงที่ |
0.286 |
0.191 |
|
1.495 |
0.136 |
ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย |
0.143 |
0.047 |
0.183 |
3.062 |
0.002 |
ด้านอาจารย์ผู้สอน |
-0.119 |
0.047 |
-0.150 |
-2.510 |
0.013 |
R = 0.167 R
Square = 0.028 S.E. = 0.485 F = 5.294* |
*ระดับนัยสำคัญที่
0.05
จากตารางที่ 4.21
แสดงค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อผ่าน ระบบ TCAS
รอบ 2 สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน สำหรับนักเรียนในพื้นที่ พบว่า
จากตัวแปรทั้ง 6 ด้าน มีตัวแปรจำนวน 2 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย
ด้านอาจารย์ผู้สอน มีความสัมพันธ์แบบพหุคูณกับการตัดสินใจเลือกระบบ TCAS รอบ 2
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเป็น 0.167 และสามารถพยากรณ์การตัดสินใจเลือก ระบบ TCAS รอบ 2 ได้ร้อยละ 2.8 (R Square = 0.028)
เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวพยากรณ์
พบว่า สามารถทำนายการตัดสินใจเลือก ระบบ TCAS รอบ 2
สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน สำหรับนักเรียนในพื้นที่ ได้สูงสุด คือ
ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย มีระดับนัยสำคัญที่ 0.05
ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนดิบเท่ากับ 0.143
และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ 0.183 รองลงมาคือ
ด้านอาจารย์ผู้สอน มีระดับนัยสำคัญที่ 0.05
ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนดิบเท่ากับ -0.119
และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ
-0.150
สมการพยากรณ์การตัดสินใจเลือก
ระบบ TCAS
รอบ 2 สามารถแสดงในรูปคะแนนดิบ เป็นดังนี้
Y2
= 0.286 + 0.143 X5 - 0.119X4
4.5.3 ระบบ TCAS รอบ 3 การรับตรงร่วมกัน
ตารางที่
4.22
แสดงค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อผ่าน ระบบ TCAS รอบ 3 การรับตรงร่วมกัน
การตัดสินใจเลือก ระบบ TCAS รอบ
3 |
B |
S.E. |
Bata |
t |
sig. |
ค่าคงที่ |
-0.080 |
0.189 |
|
-0.423 |
0.673 |
ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น |
0.162 |
0.041 |
0.214 |
4.003 |
0.000 |
ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย |
-0.080 |
0.037 |
-0.116 |
-2.180 |
0.030 |
R = 0.211 R Square =
0.044 S.E. = 0.424 F = 8.555* |
*ระดับนัยสำคัญที่
0.05
จากตารางที่ 4.22 แสดงค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อผ่าน
ระบบ TCAS รอบ 3 การรับตรงร่วมกัน พบว่า จากตัวแปรทั้ง 6
ด้าน มีตัวแปรจำนวน 2 ด้าน คือ ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย มีความสัมพันธ์แบบพหุคูณกับการตัดสินใจเลือกระบบ TCAS รอบ 3
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเป็น
0.211 และสามารถพยากรณ์การตัดสินใจเลือก ระบบ TCAS รอบ 3 ได้
ได้ร้อยละ 4.4 (R Square = 0.044)
เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวพยากรณ์
พบว่า สามารถทำนายการตัดสินใจเลือก ระบบ TCAS รอบ 3
การรับตรงร่วมกัน ได้สูงสุด คือ ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
มีระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนดิบเท่ากับ 0.162
และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ 0.214 รองลงมาคือ
ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย มีระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนดิบเท่ากับ
-0.080
และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ -0.116
สมการพยากรณ์การตัดสินใจเลือก
ระบบ TCAS
รอบ 3 สามารถแสดงในรูปคะแนนดิบ เป็นดังนี้
Y3 = -0.080 + 0.162 X1 - 0.080X5
4.5.4 ระบบ TCAS รอบ 4 การรับ Admission
ตารางที่
4.23
แสดงค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อผ่าน ระบบ TCAS รอบ 4 การรับ Admission
การตัดสินใจเลือก ระบบ TCAS รอบ
4 |
B |
S.E. |
Bata |
t |
sig. |
ค่าคงที่ |
0.286 |
0.148 |
|
1.925 |
0.055 |
ด้านหลักสูตร |
0.152 |
0.039 |
0.271 |
3.891 |
0.000 |
ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น |
-0.152 |
0.040 |
-0.265 |
-3.844 |
0.000 |
ด้านการบริหารจัดการ |
-0.123 |
0.036 |
-0.209 |
-3.447 |
0.001 |
ด้านอาจารย์ผู้สอน |
0.086 |
0.036 |
0.163 |
2.361 |
0.019 |
R = 0.282 R Square = 0.080 S.E. = 0.315 F = 7.926* |
*ระดับนัยสำคัญที่
0.05
จากตารางที่ 4.23
แสดงค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อผ่าน ระบบ TCAS รอบ 4 การรับ Admission พบว่า จากตัวแปรทั้ง 6 ด้าน
มีตัวแปรจำนวน 4 ด้าน คือ ด้านหลักสูตร ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ด้านการบริหารจัดการ ด้านอาจารย์ผู้สอน มีความสัมพันธ์แบบพหุคูณกับการตัดสินใจเลือกระบบ
TCAS รอบ 4
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเป็น 0.282 และสามารถพยากรณ์การตัดสินใจเลือก
ระบบ TCAS รอบ 4 ได้ ได้ร้อยละ 8.0 (R Square = 0.080)
เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวพยากรณ์
พบว่า สามารถทำนายการตัดสินใจเลือก ระบบ TCAS รอบ 4 การรับ Admission
ได้สูงสุด คือ ด้านหลักสูตร มีระดับนัยสำคัญที่ 0.05
ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนดิบเท่ากับ 0.152
และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ 0.271 รองลงมาคือ ด้านอาจารย์ผู้สอน
มีระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนดิบเท่ากับ 0.086
และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ 0.163 ด้านการบริหารจัดการ
มีระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนดิบเท่ากับ -0.123
และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ -0.209
และด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีระดับนัยสำคัญที่ 0.05
ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนดิบเท่ากับ -0.152
และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ -0.265
สมการพยากรณ์การตัดสินใจเลือก
ระบบ TCAS
รอบ 4 สามารถแสดงในรูปคะแนนดิบ เป็นดังนี้
Y4 = 0.286 + 0.152X2 - 0.152X1 - 0.123X3 + 0.086 X4
4.5.5 ระบบ TCAS รอบ 5
การรับตรงแบบอิสระ
ตารางที่
4.24
แสดงค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อผ่าน ระบบ TCAS รอบ 5 การรับตรงแบบอิสระ
การตัดสินใจเลือก ระบบ TCAS รอบ
5 |
B |
S.E. |
Bata |
t |
sig. |
ค่าคงที่ |
0.323 |
0.123 |
|
2.621 |
0.009 |
ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย |
-0.076 |
0.024 |
-0.182 |
-3.136 |
0.002 |
ด้านการบริหารจัดการ |
0.080 |
0.028 |
0.170 |
2.868 |
0.004 |
ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น |
-0.066 |
0.025 |
-0.144 |
-2.606 |
0.010 |
R = 0.228 R Square = 0.052 S.E. = 0.254 F = 6.709* |
*ระดับนัยสำคัญที่
0.05
จากตารางที่ 4.24
แสดงค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อผ่าน ระบบ TCAS รอบ 5 การรับตรงแบบอิสระ พบว่า จากตัวแปรทั้ง 6 ด้าน มีตัวแปรจำนวน 3 ด้าน
คือ ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย ด้านการบริหารจัดการ
ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
มีความสัมพันธ์แบบพหุคูณกับการตัดสินใจเลือกระบบ TCAS รอบ 5
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเป็น 0.228 และสามารถพยากรณ์การตัดสินใจเลือก
ระบบ TCAS รอบ 5 ได้ร้อยละ 5.2 (R Square = 0.052)
เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวพยากรณ์
พบว่า สามารถทำนายการตัดสินใจเลือก ระบบ TCAS รอบ รอบ 5
การรับตรงแบบอิสระ ได้สูงสุด คือ ด้านการบริหารจัดการ มีระดับนัยสำคัญที่ 0.05
ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนดิบเท่ากับ 0.080
และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ 0.170 รองลงมาคือ
ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีระดับนัยสำคัญที่ 0.05
ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนดิบเท่ากับ -0.066
และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ -0.144
และด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย มีระดับนัยสำคัญที่ 0.05
ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนดิบเท่ากับ
-0.076และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ -0.1.82
สมการพยากรณ์การตัดสินใจเลือก
ระบบ TCAS
รอบ 5 สามารถแสดงในรูปคะแนนดิบ เป็นดังนี้
Y5 = 0.323 - 0.076X5 + 0.080X3 - 0.066X1
4.6
การทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์แบบพหุคูณที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นผ่าน
ระบบ TCAS
จากการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์ถดถอยของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อผ่าน
ระบบ TCAS สามารถสรุปความสัมพันธ์ของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นผ่าน
ระบบ TCAS เพื่อตอบสมมติฐานการของการศึกษา ได้ดังนี้
ตาราง 4.25
สรุปความสัมพันธ์แบบพหุคูณที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นผ่านระบบ
TCAS
ระบบ TCAS ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ |
รอบ 1 (Y1) |
รอบ 2 (Y2) |
รอบ 3 (Y3) |
รอบ 4 (Y4) |
รอบ 5 (Y5) |
1)
ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น |
/ |
/ |
/ |
/ |
|
2) ด้านหลักสูตร |
/ |
/ |
|||
3)
ด้านการบริหารจัดการ |
/ |
/ |
/ |
||
4) ด้านอาจารย์ผู้สอน |
/ |
/ |
|||
5)
ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย |
/ |
/ |
/ |
||
6) ด้านเหตุผลส่วนตัว |
จากตาราง 4.25
สรุปความสัมพันธ์แบบพหุคูณที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นผ่านระบบ
TCAS พบว่า ในแต่รอบของระบบ TCAS
ปัจจัยที่มีอิทธิพลในแต่ละรอบที่มากที่สุด คือ รอบที่ 4 การรับ Admission มีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ ได้แก่
ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้านหลักสูตร ด้านการบริหารจัดการ ด้านอาจารย์ผู้สอน รองลงมาคือ
รอบที่ 1 คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
มีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ ได้แก่
ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้านหลักสูตร ด้านการบริหารจัดการ รอบที่ 5 การรับตรงแบบอิสระ มีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ
ได้แก่
ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้านการบริหารจัดการ ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย
รอบที่ 2 สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน สำหรับนักเรียนในพื้นที่
มีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ ได้แก่ ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย
รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน มีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ
ได้แก่ ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย ตามลำดับ และ
ปรากฏว่าการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ในทุกรอบ
ปัจจัยด้านเหตุผลส่วนตัวไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาผ่านระบบ
TCAS
บทที่
5
สรุปผลการศึกษา อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
การศึกษา เรื่อง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS (Thai
University Central Admission System) ปีการศึกษา 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยขอนแก่นของนักศึกษา
ผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา 2562
ทำการสุ่มตัวอย่างโดยการจับสลากเลือกคณะ 35% ได้ทั้งหมด 9 คณะ เลือกกลุ่มตัวอย่าง
โดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน ในระดับความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 5%
และระดับความเชื่อมั่น 95% จำนวน 368 คน โดยแจกแบบสอบถามทั้งสิ้น จำนวน 368
ชุด ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา จำนวน 368 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100
ของจำนวนแบบสอบถามทั้งหมด ทำการวิเคราะห์ผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
การนำสนอเป็นการนำเสนอเชิงพรรณนา โดยมีเนื้อหา ดังนี้
5.1 สรุปผลการศึกษา
5.2 อภิปรายผลการศึกษา
5.3 ข้อเสนอแนะจากการศึกษา
5.4 ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งต่อไป
5.1
สรุปผลการศึกษา
5.1.1
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา
2562 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยภาพรวม
สามารถสรุปผลได้ดังนี้
1.
ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น พบว่า
ภาพรวมด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.06)
พิจารณาเป็นรายข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย 3 อันดับ ดังนี้ อันดับที่ 1 คือ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาแล้วได้รับการยอมรับจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
(ค่าเฉลี่ย = 4.37) อันดับที่ 2 คือ
ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยและเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความโดดเด่นด้านการเรียนการสอน
(ค่าเฉลี่ย = 4.10) และอันดับ 3 คือ เป็นมหาวิทยาลัยที่คณะวิชาที่หลากหลาย
(ค่าเฉลี่ย = 3.87)
และน้อยที่สุดคือเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความโดดเด่นด้านการวิจัย (ค่าเฉลี่ย = 3.85)
2. ด้านหลักสูตร พบว่า
ภาพรวมด้านหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.03) พิจารณาเป็นรายข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย 3 อันดับ ดังนี้ อันดับที่ 1 คือ
มีมาตรฐานวิชาการที่มีคุณภาพ (ค่าเฉลี่ย = 4.16) อันดับที่ 2 คือ หลักสูตรมีความทันสมัย
และทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน (ค่าเฉลี่ย = 4.13) และอันดับ 3
หลักสูตรที่เปิดสอนตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน (ค่าเฉลี่ย = 3.99) และน้อยที่สุดคือหลักสูตรที่เปิดสอนเน้นทางด้านวิชาการ/วิชาชีพ
(ค่าเฉลี่ย = 3.95)
3. ด้านการบริหารจัดการ พบว่า
ภาพรวมด้านการบริหารจัดการมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.10) พิจารณาเป็นรายข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย 3
อันดับ ดังนี้ อันดับที่ 1 คือ ค่าเทอมมีราคาที่เหมาะสมและไม่แพง
(ค่าเฉลี่ย = 4.42) อันดับที่ 2
คือ มีจำนวนเทอมต่อปีการศึกษาที่เหมาะสม (ค่าเฉลี่ย = 4.18) และอันดับ 3 ค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากค่าเทอมไม่สูงเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่น
(ค่าเฉลี่ย = 4.06)
4. ด้านอาจารย์ผู้สอน พบว่า
ภาพรวมด้านอาจารย์ผู้สอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.01) พิจารณาเป็นรายข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย 3
อันดับ ดังนี้ อันดับที่ 1 คือ
เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคณาจารย์มีความรู้เชี่ยวชาญหลากหลายด้าน (ค่าเฉลี่ย = 4.18) อันดับที่ 2 คือ
อาจารย์มีการวางแผนการสอนให้ผู้เรียนมีกิจกรรมร่วมกัน (ค่าเฉลี่ย = 4.04) และอันดับ 3 ความใจใส่ของอาจารย์ให้การดูแลนักศึกษา
(ค่าเฉลี่ย = 4.01)
5. ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย พบว่า
ภาพรวมด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.12)
พิจารณาเป็นรายข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย 3 อันดับ ดังนี้ อันดับที่ 1 คือ
ใกล้สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาล (ค่าเฉลี่ย = 4.30) อันดับที่ 2 คือ
เป็นมหาวิทยาลัยที่มีสภาพแวดล้อมร่มรื่น และสวยงามและมีบริการห้องสมุดที่ทันสมัย
(ค่าเฉลี่ย = 4.20) และอันดับ 3
มีการบริการการอินเตอร์เน็ตที่เข้าถึงได้ง่าย/รวดเร็ว (ค่าเฉลี่ย = 4.15)
6.
ด้านเหตุผลส่วนตัว พบว่า พบว่าภาพรวมด้านเหตุผลส่วนตัวมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
(ค่าเฉลี่ย = 3.57) พิจารณาเป็นรายข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย 3
อันดับ ดังนี้ อันดับที่ 1 คือ มีหลักสูตรและสาขาวิชาตรงตามความต้องการ
(ค่าเฉลี่ย
= 4.22) อันดับที่ 2 คือ เมื่อสำเร็จการศึกษามีโอกาสได้งานทำสูง (ค่าเฉลี่ย
= 4.15) และอันดับ 3 เพื่อนเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นจำนวนมาก
(ค่าเฉลี่ย = 3.37)
5.1.2
คุณลักษณะปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา
2562
คุณลักษณะปัจจัยทุกด้านมีค่าสหสัมพันธ์ที่ใช้ในการศึกษาต่อระบบ
TCAS
ทุกรอบ พบว่า
การตรวจสอบค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระทั้งหมดอยู่ในระดับปกติที่ระดับนัยสำคัญที่
0.05 ซึ่งตัวแปรอิสระทุกตัวเป็นอิสระต่อกัน
(ค่าสหสัมพันธ์ไม่เกิน 0.7)
จึงสามารถใช้ตัวแปรอิสระทั้งหมดในการศึกษาขั้นตอนต่อไปได้
5.1.3
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีการศึกษา 2562 สามารถพยากรณ์การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อผ่านระบบ
TCAS สามารถสรุปผลได้ดังนี้
1. ระบบ TCAS รอบ 1 คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) (Y1)
มีปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ คือ ด้านหลักสูตร (x2)
ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยฯ (x1) ด้านการบริหารจัดการ (x3) โดยมีค่าอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 5.9 และมีค่าความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ที่
±0.11 ซึ่งสามารถสร้างสมการถดถอย คือ Y1 = 0.080 - 0.135 X2 + 0.077 X1 + 0.053 X3
2. ระบบ TCAS รอบ 2 สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน (Y2) มีปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ คือ ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย (x5)
ด้านอาจารย์ผู้สอน (x4) โดยมีค่าอำนาจพยากรณ์ร้อยละ
2.8
และมีค่าความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ที่ ±0.19 ซึ่งสามารถสร้างสมการถดถอย
คือ Y2 = 0.286 +
0.143 X5 + 0.119X4
3. ระบบ TCAS รอบ 3 การรับตรงร่วมกัน (Y3)
มีปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ คือ ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยฯ
(x1)
ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย (x5) โดยมีค่าอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 4.4
และมีค่าความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ที่ ±0.18 ซึ่งสามารถสร้างสมการถดถอย
คือ Y3 = - 0.080 + 0.162 X1 - 0.080X5
4. ระบบ TCAS รอบ 4 การรับ Admission (Y4) มีปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ
คือ ด้านหลักสูตร(x2)
ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยฯ (x1) ด้านการบริหารจัดการ (x3)
ด้านอาจารย์ผู้สอน (x4) โดยมีค่าอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 8.0
และมีค่าความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ที่ ±0.14 ซึ่งสามารถสร้างสมการถดถอย คือ Y4 = 0.286 + 0.152X2 - 0.152X1 - 0.123X3 + 0.086 X4
5. ระบบ TCAS รอบ 5 การรับตรงแบบอิสระ (Y5)
มีปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ คือ
ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย (x5) ด้านการบริหารจัดการ(x3)
ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยฯ (x1) โดยมีค่าอำนาจพยากรณ์ร้อยละ
5.2
และมีค่าความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ที่ ±0.12 ซึ่งสามารถสร้างสมการถดถอย คือ Y5 = 0.323 - 0.076X5 + 0.080X3 - 0.066X1
5.2 อภิปรายผลการศึกษา
จากผลการศึกษามีประเด็นสำคัญสามารถนำมาวิเคราะห์และอภิปรายผลของปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS (Thai
University Central Admission System) ปีการศึกษา 2562
สามารถอภิปรายผลโดยมีประเด็นสำคัญได้ดังนี้
5.2.1
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา
2562 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยภาพรวม
สามารถอภิปรายผลโดยมีประเด็นสำคัญได้ดังนี้
1.
ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
ภาพรวมด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.06) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อันดับที่ 1 คือ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาแล้วได้รับการยอมรับจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
สอดคล้องกับผลการศึกษาของ ณัชชา สุวรรณวงศ์ (2560) ศึกษาเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี
ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
(ระบบโควตา) ประจำปีการศึกษา 2560 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็น
เกี่ยวกับปัจจัยด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยฯ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
ทั้งนี้เนื่องจาก มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ของประเทศไทย
มีอายุกว่า 50
ปี
มีชื่อเสียงมายาวนานและมีความเป็นเลิศทางวิชาการซึ่งเป็นภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยฯ
อันจะช่วยทำให้เกิดการจดจำ การบอกถึงคุณลักษณะเด่นของมหาวิทยาลัยฯ
รวมทั้งก่อให้เกิดความ ภาคภูมิใจเมื่อได้เข้ามาศึกษาและสำเร็จการศึกษาออกไปอีกทั้งยังเป็นมหาวิทยาลัยฯ
ที่มีความเก่าแก่ มีชื่อเสียงและมีครู
อาจารย์ที่เก่ง มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เป็นมหาวิทยาลัยฯ
ที่สามารถผลิตนักเรียน นักศึกษาให้เป็นที่ยอมรับจากตลาดแรงงานหรือได้รับการยอมรับจากสถานประกอบการ
ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น น้อยที่สุด คือ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความโดดเด่นด้านการวิจัย
ทั้งนี้เนื่องจากเป็นการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งการวิจัยอาจจะยังไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญในการตัดสินใจศึกษาต่อ
ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ที่เน้นเนื้อหาด้านการวิจัย
2.
ปัจจัยด้านหลักสูตร ภาพรวมด้านหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.03) สอดคล้อง กับผลการศึกษาของ สุริยันต์ บุญเลิศวรกุลและนงลักษณ์
เกตุบุตร (2562)
ศึกษาเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาระดับปริญญาตรี
ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ภายใต้ระบบทีแคส (TCAS) พบว่า ปัจจัยด้านหลักสูตรมีผลต่อการตัดสินใจในระดับมาก
โดยเฉพาะประเด็นเรื่องหลักสูตรที่เปิดสอนมีคุณภาพและมีชื่อเสียง
ทั้งนี้เนื่องจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีหลักสูตรที่มีคุณภาพ
เนื่องจากมีมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาในทุกหลักสูตร (www.qa.kku.ac.th)
3. ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ภาพรวมด้านการบริหารจัดการ
มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.10) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อันดับที่ 1 คือ
ค่าเทอมมีราคาที่เหมาะสมและไม่แพง (ค่าเฉลี่ย = 4.42) สอดคลล้องกับผลการศึกษาของ สุริยันต์ บุญเลิศวรกุล และ นงลักษณ์ เกตุบุตร
(2562)
ศึกษาเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาระดับปริญญาตรี
ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ภายใต้ระบบทีแคส (TCAS) พบว่า ปัจจัยในด้านราคาและสภาพเศรษฐกิจ
มีผลต่อการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะประเด็นอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาะสมกับหลักสูตรและฐานะการเงินทางบ้าน
มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด
ทั้งนี้เนื่องจากอัตราค่าธรรมเนียมของมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นแบบเหมาจ่ายต่อเทอม
ซึ่งบางคณะมีอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาะสมกว่าสถาบันอื่นที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมเป็นรายหน่วยกิต
4. ปัจจัยด้านอาจารย์ผู้สอน
ภาพรวมด้านอาจารย์ผู้สอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.01)
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อันดับที่ 1 คือ
เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคณาจารย์มีความรู้เชี่ยวชาญหลากหลายด้าน (ค่าเฉลี่ย = 4.18)
เห็นได้จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีคณะวิชาที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ประจำ
หรืออาจารย์พิเศษที่มาให้ความรู้และประสบการณ์ตรง กับนักศึกษาแบบใกล้ชิด
ช่วยให้นักศึกษาในแต่ละคณะได้เรียนวิชาที่ผู้สอนมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอย่างแท้จริง
โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีการกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาในทุกหลักสูตร ซึ่งตามเงื่อนไงแต่ละหลักสูตรจะต้องมีกระบวนการพัฒนา
ปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย
หรืออาจารย์เองจะต้องมีผลงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ในทุก ๆ ปี
ซึ่งทำให้อาจารย์มีการพัฒนาความเชี่ยวชาญของตนเองอยู่จะตลอดเวลา
ทำให้นักศึกษาได้เรียนกับมีความรู้เชี่ยวชาญ
5. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย
ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อันดับที่ 1 คือ
ใกล้สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาล ทั้งนี้เนื่องมาจาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โรงพยาบาลสังกัดคณะแพทยศาสตร์ ที่อยู่ภายในรั้วมหาวิทยาลัยขอนแก่น
และถือเป็นศูนย์บริการทางการแพทย์ที่ได้รับความน่าเชื่อถือในเรื่องของความเชี่ยวชาญในปัญหาด้านสุขภาพ
ซึ่งจะประกอบด้วย ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ในด้านด่างๆ อาทิ
ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด
ศูนย์โรคมะเร็ง
ศูนย์การแพทย์ฉุกเฉิน เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังเป็นมหาวิทยาลัยที่มีสภาพแวดล้อมร่มรื่น และสวยงามและมีบริการห้องสมุดที่ทันสมัย
โดยสอดคล้องกับ แผนยุทธศาสตร์การบริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2559 – 2562
ยุทธศาสตร์ที่ 1 :
พัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว
ที่มุ่งพัฒนาสภาพแวดล้อมโดยรอบมหาวิทยาลัยให้บรรยากาศที่ร่มรื่น เป็นธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมที่ดีที่เกื้อหนุนให้เกิดการเรียนรู้ การพัฒนาองค์ความรู้
และการทำงานที่มีประสิทธิภาพ มีการบริการการอินเตอร์เน็ตที่เข้าถึงได้ง่าย/รวดเร็ว
ผ่าน KKU Account สามารถเชื่อมอุปกรณ์เข้าใช้งาน Wi-Fi ได้ทุกที่โดยรอบมหาวิทยาลัยเข้าถึงการบริการได้สะดวก
รวดเร็ว อีกทั้งยังมีบริการห้องสมุดที่ทันสมัย และมีทรัพยากรสารสนเทศ
รายการหนังสือ ฐานข้อมูลวารสาร ทั้งภาษาไทนและภาษาต่างประเทศ ครอบคลุมทุกสาขาวิชา
สามารถใช้เป็นปัจจัยดึงดูดให้ผู้เรียนมาเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น
6. ด้านเหตุผลส่วนตัว
ภาพรวมด้านเหตุผลส่วนตัวมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ
อันดับที่ 1 คือ มีหลักสูตรและสาขาวิชาตรงตามความต้องการ
ดังจะเห็นจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีคณะที่หลากหลายให้ผู้ที่สนใจจะศึกษาต่อได้ตัดสินใจเลือก
มีการเปิดสอนหลักสูตรและสาขาวิชาที่สามารถตอบสนองความต้องการและความถนัดของตนเอองได้
ซึ่งอาจเป็นเพราะแต่ละคนต่างก็มีความต้องการที่จะศึกษาในหลักสูตรที่แตกต่างกันออกไปตามความถนัดหรือความชอบส่วนตัวของตน
5.2.2
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา
2562
เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์แบบพหุคูณที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผ่านระบบ TCAS โดยลำดับรายรอบการรับสมัครของระบบ TCAS
ที่ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยรายด้านมากไปหาน้อย
จากผลการศึกษาการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS
ในแต่ละรอบนั้นสามารถอภิปรายโดยลำดับจากรอบที่ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยรายด้านจากมากไปหาน้อย
ดังนี้
1. รอบที่ 4 การรับ Admission เป็นรอบที่มีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อมากที่สุด
มี 4 ปัจจัย ได้แก่ ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้านหลักสูตร
ด้านการบริหารจัดการ ด้านอาจารย์ผู้สอน
โดยรอบนี้เป็นรอบสำหรับนักเรียนทั่วไป นักเรียนสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชา แบบมีลำดับ
จะได้สิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์เพื่อไปยืนยันสิทธิ์เพียง 1 อันดับเท่านั้น
ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งจะกำหนดเกณฑ์การรับ
ตามข้อตกลงตามองค์ประกอบของ Admission โดยใช้สัดส่วนคะแนน GPAX ในทุกกลุ่มสาขาวิชาสูงถึง
20% คะแนน 9 วิชาสามัญ O-NET
GAT/PAT (คู่มือระบบ TCAS62 สำหรับผู้สมัคร V03, 2561) ทั้งนี้จะมีการแบ่งกลุ่มสาขาวิชาเป็นทั้งหมด
10 กลุ่ม ในแต่ละกลุ่มจะมีสัดส่วนการใช้คะแนนไม่แตกต่างกัน ซึ่งคณะต่าง ๆ
ภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น จะมีการกำหนดข้อตกลงที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม
ซึ่งปัจจัยที่อิทธิพลทั้ง 4 ปัจจัยนั้น
เนื่องมาจากเป็นรอบที่สามารถเลือกสาขาวิชาได้มาก
นักเรียนมีการวางแผนอย่างรอบคอบในการสมัคร ซึ่งผู้สมัครจะต้องรู้ว่าตัวเองถนัดอะไร
จากการตั้งใจเรียนในห้องเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพื่อให้ได้คะแนน GPAX
ออกมาดี และสามารถนำผลมายื่นสมัครในสาขาวิชาหรือมหาวิทยาลัยที่ตนอยากศึกษาต่อในรอบดังกล่าว
ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยมีเกณฑ์คะแนนค่อนข้างตายตัว
2. รอบที่ 1
คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) มี 3
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ ได้แก่
ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้านหลักสูตร และด้านการบริหารจัดการ ตามลำดับ
โดยรอบนี้เป็นรอบสำหรับนักเรียนทั่วไปที่มีความสามารถพิเศษ
ได้โควตาที่ไม่ต้องสอบข้อเขียน
โดยยื่นสมัครกับสถาบันอุดมศึกษาตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดโดยไม่ต้องสอบข้อเขียน (คู่มือระบบ
TCAS62 สำหรับผู้สมัคร V03, 2561) ซึ่งสามารถ Pre-Screening ก่อนเรียกสัมภาษณ์ได้ โดย Portfolio คือ เอกสารที่แสดงตัวตน
ความรู้ความสามารถ ทักษะ การเข้าร่วมกิจกรรม ตลอดจนรางวัลที่ได้รับ
ที่มีความสอดคล้องกับสาขาวิชาที่ต้องการจะสมัคร
ซึ่งรอบนี้เป็นรอบที่นักเรียนมีความสามารถพิเศษโดนเด่น มีผลการเรียนดี มีหลักฐานที่แสดงถึงการเข้าร่วมกิจกรรมด้านวิชาการต่าง
ๆ ซึ่งปัจจัยที่อิทธิพลทั้ง 3 ปัจจัยนั้น
เนื่องมาจากเป็นรอบที่นักเรียนนั้นได้ใช้ความสามารถที่ตนเองได้สะสมมาในรูปของผลงานทั้งทางวิชาการหรือความสามารถด้านอื่น
ๆ ซึ่งผลงานที่หลากหลาย ทั้งเป็นผลงานที่สามารถสร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัยได้
ผลงานที่ได้ทำที่โรงเรียนมาก่อน หรือผลงานที่เคยทำร่วมกับมหาวิทยาลัยหรือคณะฯ
ที่นักเรียนสนใจ
3.
รอบที่ 5 การรับตรงแบบอิสระ มี 3
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ ได้แก่ ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ด้านการบริหารจัดการ ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย
ตามลำดับ โดยรอบนี้เป็นรอบสำหรับนักเรียนทั่วไปสามารถสมัครสอบโดยตรงกับสถาบันอุดมศึกษาได้ตามความต้องการ
โดยที่แต่ละมหาวิทยาลัยจะรับตรงด้วยวิธีการของมหาวิทยาลัยเอง
โดยมีเงื่อนไขที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป เช่น มีการกำหนดเกรดขั้นต่ำ ใช้ GAT/PAT หรือ วิชาสามัญเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือก
หรือการใช้ Portfolio
ซึ่งปัจจัยที่อิทธิพลทั้ง 3 ปัจจัยนั้น
เนื่องมาจากเป็นรอบที่เปิดรับนักศึกษาได้อย่างอิสระ เป็นรอบสุดท้ายของระบบ TCAS
ใช้เกณฑ์ที่ค่อนข้างหลากหลาย (คู่มือระบบ TCAS62 สำหรับผู้สมัคร V03, 2561)
4. รอบที่ 2 สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน สำหรับนักเรียนในพื้นที่ มี 2
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ ได้แก่ ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย ตามลำดับ
โดยรอบนี้เป็นรอบสำหรับนักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่หรือภาค โรงเรียนในเครือข่าย
โครงการความสามารถพิเศษ และเขตพิเศษของประเทศ
สามารถสมัครสอบโดยตรงกับสถาบันอุดมศึกษาได้ตามความต้องการ
โดยมหาวิทยาลัยจะกำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือก ซึ่งปัจจัยที่อิทธิพลทั้ง 2 ปัจจัยนั้น
เนื่องจากเป็นรอบที่มีการกำหนดพื้นที่จังหวัด กำหนดคุณสมบัติเฉพาะ หรือมีการให้ทุน
(คู่มือระบบ TCAS62 สำหรับผู้สมัคร V03,
2561)
5. รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน
มี 2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ ได้แก่
ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย ตามลำดับ โดยรอบนี้เป็นรอบสำหรับนักเรียนทั่วไป
นักเรียนในโครงการ กสพท. นักเรียนในโครงการอื่น ๆ โดยสมัครผ่านระบบ TCAS เลือกได้สูงสุด 6 สาขาวิชา และเรียงลำดับสาขาวิชาที่เลือกสมัคร ซึ่งปัจจัยที่อิทธิพลทั้ง 2
ปัจจัยนั้น เนื่องจากเป็นรอบที่ใช้คะแนนสอบทุกแบบ
และแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีเกณฑ์ของแต่ละมหาวิทยาลัยแตกต่างกันออกไป (คู่มือระบบ TCAS62 สำหรับผู้สมัคร V03,
2561)
5.2.3
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS ปีการศึกษา
2562
เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์แบบพหุคูณที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผ่านระบบ TCAS
โดยลำดับปัจจัยรายด้านที่มีอิทธิพลต่อรอบการรับสมัครของระบบ TCAS จากมากไปหาน้อย
จากผลการศึกษาการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS
ในแต่ละปัจจัยนั้นสามารถอภิปรายโดยลำดับจากปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจจากปัจจัยรายด้านมากไปหาน้อย
ดังนี้
1. ปัจจัยด้านด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แก่ รอบที่ 1
คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) รอบที่ 3
การรับตรงร่วมกัน รอบที่ 4 การรับ Admission และ รอบที่ 5
การรับตรงแบบอิสระ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลที่มีต่อการตัดสินใจอย่างมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็น
บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับการยอมรับจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
เป็นประเด็นที่สามารถสร้างความมั่นใจในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ
อันเนื่องมาจาก มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ของประเทศไทย มีอายุกว่า
50 ปี
มีชื่อเสียงมายาวนานและมีความเป็นเลิศทางวิชาการซึ่งเป็นภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยฯ
อันจะช่วยทำให้เกิดการจดจำ การบอกถึงคุณลักษณะเด่นของมหาวิทยาลัยฯ
รวมทั้งก่อให้เกิดความ
ภาคภูมิใจเมื่อได้เข้ามาศึกษาและสำเร็จการศึกษาออกไปอีกทั้งยังเป็นมหาวิทยาลัยฯ
ที่มีความเก่าแก่ เห็นได้จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ปี 2020 จากQuacquarelli
Symonds (QS)
สถาบันการจัดอันดับที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของโลก จากประเทศอังกฤษ อันดับ 6 ของไทย
: มหาวิทยาลัยขอนแก่น อันดับ 148 ของเอเชีย (Asian University Rankings) อันดับ 801-1000 ของโลก (World University Rankings) (www.topuniversities.com)
รวมถึง มีชื่อเสียงและมีครู อาจารย์ที่เก่ง มีความรู้ความสามารถ
มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เป็นมหาวิทยาลัยฯ ที่สามารถผลิตนักเรียน
นักศึกษาให้เป็นที่ยอมรับจากตลาดแรงงานหรือได้รับการยอมรับจากสถานประกอบการ
สอดคล้องกับ ธนกฤต ยืนยงเดชา (2554) ได้ศึกษาเรื่อง
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นอันดับหนึ่งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษา พบว่า
ปัจจัยทางด้านการผลิตบัณฑิตจำนวนมากที่ความสำคัญ ในระดับมากต่อการเลือกศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
รองลงมาคือ จบจากสถาบันนี้แล้วจะมีโอกาสในการประกอบอาชีพสูงกว่าสถาบันอื่น
สำหรับปัจจัยทางด้านราคาถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญกับการเลือกศึกษา
ในระดับมากที่สุด
2. ด้านการบริหารจัดการ
ประกอบด้วย รอบที่ 1 คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) รอบที่ 4 การรับ Admission และ รอบที่ 5 การรับตรงแบบอิสระ
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลที่มีต่อการตัดสินใจอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็น
ค่าเทอมมีราคาที่เหมาะสมและไม่แพง หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
เมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่น อีกทั้งยังมีทุนสนับสนุนการศึกษา
มีจำนวนเทอมต่อปีการศึกษาที่เหมาะสม มีระบบรับเข้าหลากหลายช่องทาง เป็นต้น
ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าครองชีพที่ไม่สูง
เมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยภาคกลาง มีระบบการรับเข้าที่หลากหลายช่องทาง ด้วยระบบ TCAS
ทั้ง 5 รอบ มีทุนการศึกษาทั้งจากภายในมหาวิทยาลัย เช่น
ทุนจากคณะต่าง ๆ ตามนโยบายของคณะ ทุนสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นต้น
และทุนจากภายนอก เช่น ทุนจากมูลนิธินิธิโตโยต้าประเทศไทย มูลนิธิคุณแม่จินตนา
ธนาลงกรณ์ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ เป็นต้น
3.
ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วยรอบที่ 2
สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน สำหรับนักเรียนในพื้นที่ รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน
และ รอบที่ 5 การรับตรงแบบอิสระ
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลที่มีต่อการตัดสินใจอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นใกล้สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาล
ที่อยู่ภายในรั้วมหาวิทยาลัยขอนแก่น ถือเป็นศูนย์บริการทางการแพทย์ที่ได้รับความน่าเชื่อถือในเรื่องของความเชี่ยวชาญในปัญหาด้านสุขภาพ
รวมทั้งสภาพแวดล้อมโดยรอบมหาวิทยาลัยให้บรรยากาศที่ร่มรื่น เป็นธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมที่ดีที่เกื้อหนุนให้เกิดการเรียนรู้ สอดคล้องกับธนวรรณ รักอู่ (2557) ได้ศึกษาเรื่อง
การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีของนักศึกษาภาคปกติ
ปีการศึกษา 2556 พบว่า
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ทุกด้านอยู่ในระดับมากเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก
คือ ด้านบุคลากร รองลงมาคือ ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย และด้านสถานที่ตั้ง
4.
ด้านหลักสูตร
ประกอบด้วย รอบที่ 1 คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และ รอบที่ 4 การรับ Admission ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลที่มีต่อการตัดสินใจอย่างมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็น หลักสูตรที่เปิดสอนมีคุณภาพและมีชื่อเสียง
ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ซึ่งมีการประเมินคุณภาพทุกปีการศึกษา ทำให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีความเชื่อมั่นในคุณภาพของหลักสูตร
หากสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยไปจะเป็นที่รู้จักในวงการของผู้ประกอบอาชีพทางด้านสาชาวิชาชีพนั้น
ๆ
และมีโอกาสที่จะได้รับการพิจารณารับเข้าทำงานมากกว่าผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาเดียวกันจากมหาวิทยาลัยอื่น
อีกทั้งมีหลักสูตรที่มีความหลากหลายเน้นทางด้านวิชาการ/วิชาชีพ
5. ด้านอาจารย์ผู้สอน
ประกอบด้วยรอบที่ 2 สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน สำหรับนักเรียนในพื้นที่ และ รอบที่ 4
การรับ Admission
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลที่มีต่อการตัดสินใจอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็น
คณาจารย์มีความรู้เชี่ยวชาญหลากหลายด้าน
เห็นได้จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีคณะวิชาที่หลากหลาย
มีการออกแบบหลักสูตรที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ประจำ
หรืออาจารย์พิเศษที่มาให้ความรู้และประสบการณ์ตรง กับนักศึกษาแบบใกล้ชิด
ช่วยให้นักศึกษาในแต่ละคณะได้เรียนวิชาที่ผู้สอนมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอย่างแท้จริง
6. ปัจจัยด้านเหตุผลส่วนตัว
ไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS
ปีการศึกษา 2562
อาจเนื่องมาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีคณะที่หลากหลายให้ผู้ที่สนใจจะศึกษาต่อได้ตัดสินใจเลือก
มีการเปิดสอนหลักสูตรและสาขาวิชาที่สามารถตอบสนองความต้องการและความถนัดของนักเรียน
นักศึกษาได้
ซึ่งอาจเป็นเพราะนักเรียนนักศึกษาแต่ละคนต่างก็มีความต้องการที่จะศึกษาในหลักสูตรที่แตกต่างกันออกไปตามความถนัดหรือความชอบส่วนตัวของตน
5.3
ข้อเสนอแนะจากการศึกษา
1. จากการศึกษาพบว่า ระบบ TCAS ในรอบที่ 4 การรับ Admission ควรให้ความสำคัญและนำใช้เป็นรูปแบบในการรับนักศึกษาต่อไป
เนื่องจากในรอบที่ 4 การรับ Admission
เป็นการวัดความสามารถที่ได้มาตรฐาน ใช้เกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX)
คะแนน 9 วิชาสามัญ O-NET GAT/PAT
ซึ่งมหาวิทยาลัยจะได้นักศึกษาที่มีคุณภาพจากเนื่องจากการใช้เกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX)
นั้นเป็นเตรียมตัวของนักเรียนที่ตั้งใจเรียนในห้องเรียนตั้งแต่เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
4
2.
จากการศึกษาพบว่าปัจจัยด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่ทำให้นักศึกษาส่วนใหญ่ในทุกรอบ
ตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ
ดังนั้นจึงควรส่งเสริมด้านภาพลักษณ์จของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเฉพาะเรื่องบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาแล้วได้รับการยอมรับจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
เนื่องจากเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการประชาสัมพันธ์ศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับเป็นจุดแข็งของมหาวิทยาลัย
ซึ่งสมควรดำเนินการต่อไป
3. สถานการณ์ปัจจุบัน
ประเด็นปัจจัยด้านหลักสูตร พบว่า ปัจจัยในข้อที่น้อยที่สุดคือเรื่องหลักสูตรที่เปิดสอนเน้นทางด้านวิชาชีพ
เพราะฉะนั้น
มหาวิทยาลัยควรมีหลักสูตรที่เน้นทางการปฏิบัติด้านวิชาชีพที่สอดคล้องกับ
5.4
ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งต่อไป
1. เนื่องจากการศึกษาครั้งนี้ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อมีร้อยละของค่าอำนาจพยากรณ์ที่น้อย
ควรทำการศึกษาในเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก
ถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกศึกษาต่อผ่านระบบ TCAS
ในแต่ละรอบการรับ เพื่อหาปัจจัยอื่น ๆ มาทำการศึกษาเพิ่มเติม
2.
ควรศึกษาเปรียบเทียบเงื่อนไขของระบบการรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อผ่านระบบ TCAS ในแต่ละรอบการรับ กับมหาวิทยาลัยอื่น
บรรณานุกรม
กัญญา ศิริสกุล, ขนบพันธุ์ เอี่ยมโอภาส, สายพิณ ศมาวรรตกุล
และเจริญศักดิ์ อึ้งเจริญวัฒนา. 2552. หลักการประชาสัมพันธ์.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. 2545. การคิดเชิงสร้างสรรค์.
กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.
. กองพัฒนาคุณภาพฯ
จัดประชุมชี้แจงเตรียมความพร้อมผู้ตรวจประเมินฯ ระดับหลักสูตร ปี การศึกษา 2561. (5 สิงหาคม 2562). มหาวิทยาลัยขอนแก่น . สืบค้นจาก https://qa.kku.ac.th/admin/mcontent_dspphp?cid =875.
ณัชชา
สุวรรณวงศ์. 2560. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชสีมา (ระบบโควตา).
งานวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลอีสาน.
ทิพย์วัลย์
สีจันทร์. 2546. การคิดและการตัดสินใจ.
กรุงเทพฯ:ศูนย์หนังสือสถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
ประไพ
เอกอุ่น. 2542. การศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์
สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
ภูมิจิตร
ศรีวงษ์ราช. 2541. องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการบริหารพัฒนาของคณะ กรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดขอนแก่น.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา, คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทองคูณ หงส์พันธุ์. 2542. ผู้บริหารมือใหม่ในสถานการณ์เปลี่ยนแปลง:กรณีสถาบันราชภัฏ.
กรุงเทพฯ: แสง สว่างการพิมพ์.
ธนกฤต ยืนยงเดชา. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็น อันดับหนึ่งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่.
รายงานการ วิจัยเชียงใหม่ :
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธนวรรณ
รักอู่. 2557.
การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีของนักศึกษาภาคปกติ ปี การศึกษา 2556.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. 2560. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย
SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ธำรง
บัวศรี. (2552). ทฤษฎีหลักสูตร การออกแบบและพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 4.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
. แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับปรับปรุง. 2562. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บรรณานุกรม
(ต่อ)
เมธาวี
สุขปาน. 2556. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูง (ปวส.) ของนักเรียน
กรณีศึกษาวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี. วิทยานิพนธ์เศรฐศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ยุทธ
ไกยวรรณ์. (2545). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ราชบัณฑิตยสถาน.
2546. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมี
บุคสพับลิเคชั่นส์.
วรพจน์บุษราคัมวดี .(2551). วิชาองค์การและการจัดการ.
ปทุมธานี: คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราช ภัฏวลัยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์
สมคิด
บางโม. 2548. องคการและการจัดการ. (พิมพครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน.
สมบูรณ์
ตนยะ. 2545. การประเมินผลทางการศึกษา. กรงุเทพฯ : สุวีริยสาล์น.
สมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย. คู่มือระบบ
TCAS62 สำหรับนักเรียนและผู้สมัคร v03. 2561.
สุริยันต์
บุญเลิศวรกุล และ นงลักษณ์ เกตุบุตร. 2562. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกยืนยันสิทธิ์เข้า ศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตตรังภายใต้ระบบทีแคส (TCAS). วารสารวิชาการ ปขมท. 8(3), น. 54
– 62
สุริยา
ฆ้องเสนาะ. 2561. TCAS ระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษารูปแบบใหม่. แหล่งที่มา: https://library2.parliament.go.th/e-book/content- issue/2561/hi2561-046.pdf.
อมราพร
ปวะบุตร,ปพฤกษ์ อุตสาหะวาณิชกิจ และ จิระทัศน์ชิดทรงสวัสดิ์. 2550. ความสัมพันธ์ระหว่าง ความโปร่งใส ความรับผิดชอบต่อสังคม
และภาพลักษณ์ขององค์การของธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริม การลงทุน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Barnard,
Chester I. 1938. The Functions of
Executive. Cambridge, Massachusetts: University
Press.
Craven &
C. J. Hirnle (Eds.), Fundamental of Nursing: Human Health
and Function. (3rd ed.) Philadelphia: Lippincott.
Maslow,
A. 1970. Human needs theory: Maslow’s hierarchy of human needs. In R.F.
Oppenheim,
A. N. 1966. Questionnaire
design and attitude measurement. (2nd ed.). New York: Basic Book.
บรรณานุกรม
(ต่อ)
Pfiffner,
John M. and Robert V. Presthus. 1960. Public Administration. (4th. Ed.). New
York: The Ronald
Press Company
Plunkett,
W.R. and R. F. Attner. 1994. Introduction to
Management. Belmont: Wadsworth.
Simon,
H. A. 1960. Administrative
Behavior. (3rd ed.). New
York: The free Press.
แบบสอบถาม
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ของนักศึกษา ผ่านระบบ TCAS (Thai
University
Central
Admission System) ปีการศึกษา 2562
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
1)
เพศ £☐
ชาย £☐
หญิง
2)
ภูมิลำเนา……………………………..
3)
เกรดเฉลี่ยในระดับมัธยมศึกษา ปีที่ 6 ……………….
4)
อาชีพผู้ปกครอง
£ รับราชการ £
พนักงานรัฐวิสาหากิจ £
พนักงานเอกชน £
ธุรกิจส่วนตัว £
เกษตรกร £
รับจ้าง
5)
รายได้รายได้รวมต่อเดือนของครอบครัว…………………………..บาท
6)
คณะที่ท่านศึกษา ………………………………………………………………………….
7) นักศึกษาได้รับคัดเลือกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยระบบ TCAS ในรอบใด
£
รอบ 1 คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
£
รอบ 2
สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน สำหรับนักเรียนในพื้นที่
£
รอบ 3 การรับตรงร่วมกัน
£
รอบ 4
การรับ Admission
£
รอบ 5 การรับตรงแบบอิสระ
ส่วนที่
2
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปีการศึกษา 2562
ลำดับที่ |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ |
ระดับความคิดเห็น |
||||
มากที่สุด |
มาก |
ปานกลาง |
น้อย |
น้อยที่สุด |
||
1) ด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยฯ |
||||||
1.1 |
ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย |
|
|
|
|
|
1.2 |
เป็นมหาวิทยาลัยที่คณะวิชาที่หลากหลาย |
|
|
|
|
|
1.3 |
เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความโดดเด่นด้านการเรียนการสอน |
|
|
|
|
|
1.4 |
เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความโดดเด่นด้านการวิจัย |
|
|
|
|
|
1.5 |
บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาแล้วได้รับการยอมรับจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน |
|
|
|
|
|
2)
ด้านหลักสูตร |
||||||
2.1 |
มีมาตรฐานวิชาการที่มีคุณภาพ |
|
|
|
|
|
2.2 |
มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา |
|
|
|
|
|
2.3 |
หลักสูตรที่เปิดสอนเป็นที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน |
|
|
|
|
|
2.4 |
หลักสูตรมีความทันสมัย
และทันต่อ เหตุการณ์ปัจจุบัน |
|
|
|
|
|
2.5 |
หลักสูตรที่เปิดสอนมีชื่อเสียง |
|
|
|
|
|
2.6 |
หลักสูตรที่เปิดสอนตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน |
|
|
|
|
|
2.7 |
หลักสูตรที่เปิดสอนเน้นทางด้านวิชาการ/วิชาชีพ |
|
|
|
|
|
3) ด้านการบริหารจัดการ |
||||||
3.1 |
เป็นมหาวิทยาลัยที่มีทุนสนับสนุนการศึกษา |
|
|
|
|
|
3.2 |
ค่าเทอมมีราคาที่เหมาะสมและไม่แพง |
|
|
|
|
|
3.3 |
ค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากค่าเทอมไม่สูงเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่น |
|
|
|
|
|
3.4 |
มีจำนวนเทอมต่อปีการศึกษาที่เหมาะสม |
|
|
|
|
|
3.5 |
มีระบบรับเข้าหลากหลายช่องทาง |
|
|
|
|
|
4)
ด้านอาจารย์ผู้สอน |
||||||
4.1 |
เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคณาจารย์มีความรู้เชี่ยวชาญหลากหลายด้าน |
|
|
|
|
|
4.2 |
คณาจารย์มีชื่อเสียงหลากหลายด้าน |
|
|
|
|
|
4.3 |
คณาจารย์มีตำแหน่งทางวิชาการจำนวนมาก |
|
|
|
|
|
4.4 |
ความใจใส่ของอาจารย์ให้การดูแลนักศึกษา |
|
|
|
|
|
4.5 |
อาจารย์มีการวางแผนการสอนให้ผู้เรียนมีกิจกรรมร่วมกัน |
|
|
|
|
|
5)
ด้านสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย |
||||||
5.1 |
เป็นมหาวิทยาลัยที่มีอุปกรณ์การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย |
|
|
|
|
|
5.2 |
เป็นมหาวิทยาลัยที่มีสภาพแวดล้อมร่มรื่น
และสวยงาม |
|
|
|
|
|
5.3 |
ที่ตั้งของอาคารสถานที่มีความเหมาะสม |
|
|
|
|
|
5.4 |
มีบริการห้องสมุดที่ทันสมัย |
|
|
|
|
|
5.5 |
มีโรงอาหารสำหรับนักศึกษา |
|
|
|
|
|
5.6 |
ใกล้สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาล |
|
|
|
|
|
5.7 |
มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน |
|
|
|
|
|
5.8 |
มีการบริการการอินเตอร์เน็ตที่เข้าถึงได้ง่าย/รวดเร็ว |
|
|
|
|
|
6)
ด้านเหตุผลส่วนตัว |
||||||
6.1 |
มีหลักสูตรและสาขาวิชาตรงตามความต้องการ |
|
|
|
|
|
6.2 |
เมื่อสำเร็จการศึกษามีโอกาสได้งานทำสูง |
|
|
|
|
|
6.3 |
เพื่อนเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นจำนวนมาก |
|
|
|
|
|
6.4 |
ครูที่ปรึกษาเป็นผู้แนะนำให้เลือกเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ |
|
|
|
|
|
6.5 |
รุ่นพี่เป็นผู้แนะนำให้เลือกเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ |
|
|
|
|
|
6.6 |
บุคคลที่นักเรียนประทับใจ
(Idol) เป็นศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ |
|
|
|
|
|
ตอนที่
3 ข้อเสนอแนะอื่น ๆ
ที่เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ของนักศึกษา ผ่านระบบ TCAS (Thai
University Central Admission System)
ปีการศึกษา 2562
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น